เบื้องหลัง ของ ความตกลงการสงบศึกเกาหลี

จนถึงกลางเดือนธันวาคม 2493 สหรัฐอเมริกาได้อภิปรายเงื่อนไขสำหรับความตกลงเพื่อยุติสงครามเกาหลีแล้ว[3] ความตกลงที่ปรารถนาไว้ดังกล่าวจะยุติการสู้รบ ให้การรับรองการคืนสภาพเดิม และคุ้มครองความปลอดภัยในอนาคตของกองกำลังสหประชาชาติ[4] สหรัฐอเมริกาตัดสินใจว่าจำเป็นต้องมีคณะกรรมาธิการการสงบศึกทหารซึ่งมีสมาชิกภาพร่วมซึ่งจะดูแลความตกลงทั้งหมด[3] ทั้งสองฝ่ายจะต้องตกลงเพื่อ "ยุติการนำหน่วยหรือกำลังพลทางอากาศ ภาคพื้นหรือนาวิกเข้ามาเสริมกำลังในเกาหลี... และเพื่อยับยั้งการเพิ่มขึ้นของระดับยุทธภัณฑ์และยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่ในเกาหลี"[3] สหรัฐอเมริกายังปรารถนาจะสร้างเขตปลอดทหารที่มีความกว้างอย่างน้อย 20 ไมล์[3] ความตกลงจะหยิบยกประเด็นเชลยศึกซึ่งสหรัฐอเมริกาเชื่อว่าควรมีการแลกเปลี่ยนแบบหนึ่งต่อหนึ่ง[3]

ขณะที่การสนทนาเรื่องความตกลงการสงบศึกที่เป็นไปได้แพร่ไปนั้น ในปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน 2494 อี ซึงมัน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คัดค้านการเจรจาสันติภาพ เขาเชื่อว่าสาธารณรัฐเกาหลีควรขยายกองทัพต่อไปเพื่อกรีธาไปจนถึงแม่น้ำยาลูและรวมชาติเป็นหนึ่งอย่างสมบูรณ์[5] สหประชาชาติไม่รับรองท่าทีของรี[5] แต่แม้จะปราศจากการสนับสนุนจากสหประชาชาติ รีและรัฐบาลเกาหลีใต้เปิดฉากความพยายามขนานใหญ่เพื่อระดมสาธารณะต่อต้านการยุติการสู้รบที่ไม่ถึงแม่น้ำยาลู[6] ข้าราชการสาธารณรัฐเกาหลีอื่น ๆ ก็สนับสนุนความทะเยอทะยานของรีและสมัชชาแห่งชาติผ่านข้อมติที่รับรองการสู้รบต่อไปเพื่อ "ประเทศที่มีเอกราชและรวมเป็นหนึ่ง"[6] อย่างเป็นเอกฉันท์ อย่างไรก็ดี เมื่อถึงปลายเดือนมิถุนายน สมัชชาตัดสินใจสนับสนุนการเจรจาสงบศึก[6]

เช่นเดียวกับอี ซึงมัน ผู้นำเกาหลีเหนือ คิม อิลซุงก็แสวงการรวมชาติอย่างสมบูรณ์เช่นกัน ฝ่ายเกาหลีเหนือตอบรับการเจรจาการสงบศึกช้า และกระทั่งวันที่ 27 มิถุนายน 2494 เพียง 17 วันก่อนเริ่มการเจรจาการสงบศึก ที่เกาหลีเหนือเปลี่ยนคำขวัญจาก "ขับไล่ข้าศึกลงทะเล" เป็น "ขับไล่ข้าศึกไปยังเส้นขนานที่ 38"[7] เกาหลีเหนือถูกกดดันให้สนับสนุนการเจรจาสันติภาพโดยชาติพันธมิตร จีนและสหภาพโซเวียต ซึ่งการสนับสนุนจากชาติเหล่านี้ทำให้เกาหลีเหนือยังคงสู้รบต่อไปได้ ทำให้เกาหลีเหนือถูกบีบให้รับท่าทีสนับสนุนการสงบศึก

ใกล้เคียง

ความตาย ความตลกขบขัน ความตกลงมิวนิก ความต้านทานและการนำไฟฟ้า ความตกลงปางหลวง ความตกลงการสงบศึกเกาหลี ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ความตกลงอังกฤษ-รัสเซีย ความตกลงเชงเกน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความตกลงการสงบศึกเกาหลี http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/800078 http://news.ch3thailand.com/abroad/67169 http://news.findlaw.com/cnn/docs/korea/kwarmagr072... http://abcnews.go.com/US/wireStory/korean-war-armi... http://time.com/5246212/south-korea-formal-peace-t... http://www.archives.gov/historical-docs/todays-doc... http://english.yonhapnews.co.kr/northkorea/2009/05... http://www.rferl.org/content/The_End_Of_The_Korean... http://www.webcitation.org/6F0Qo2CpN http://www.webcitation.org/6F0QuE8HO