ปฏิกิริยาของฝ่ายสัมพันธมิตร ของ ความตกลงมิวนิก

อังกฤษเห็นว่าการรวมชาวเยอรมันเข้าอยู่ร่วมกันเป็นเรื่องที่ชอบด้วยเหตุผลพอสมควร เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงสงครามในยุโรปที่เกิดขึ้นได้ทุกขณะ เชมเบอร์เลนจึงเดินทางไปเจรจากับฮิตเลอร์ด้วยตนเอง ภายในระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ ถึง 3 ครั้งด้วยกัน กล่าวคือ เจรจาครั้งแรกที่แบร์คเตสกาเดน (Berchtesgarden) ในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1938 เชมเบอร์เลนตกลงยอมให้เยอรมันรวมซูเดเทินลันด์เข้าไปอยู่ด้วย

แต่อีกสัปดาห์ต่อมาคือในวันที่ 22 กันยายน เชมเบอร์เลนก็ต้องเดินทางไปพบฮิตเลอร์อีกครั้งหนึ่งที่ กอเดสเบอร์ก (Godesberg) เมื่อฮิตเลอร์ยืนยันที่จะใช้ทหารเยอรมันเข้าไปยึดครองซูเดเทินลันด์ทันที พร้อมกับขู่กว่าจะประกาศสงครามกับอังกฤษ ฝรั่งเศส และเชโกสโลวาเกีย หากไม่ยอมปล่อยให้ตนดำเนินการตามแผนนี้ เชมเบอร์เลนจึงขอให้ระงับการใช้กำลังทางทหาร แต่บรรยากาศยังอึมครึมตึงเครียดมีท่าทีว่าจะเกิดสงครามขึ้นได้ ประกอบกับเชกโกสโลวาเกียได้ระดมพลประชิดชายแดน ฝรั่งเศสมีคำสั่งให้ทหารกองหนุนเข้ารายงานตัว อังกฤษเองก็สั่งเตรียมพร้อมกองทัพเรือ ทันใดนั้นเองฮิตเลอร์จึงยอมเปลี่ยนท่าทีและยอมตกลงเข้าประชุมนานาชาติซึ่งเชมเบอร์เลนได้เสนอไว้ ซึ่งก็คือการประชุมที่มิวนิก

ใกล้เคียง

ความตาย ความตลกขบขัน ความตกลงมิวนิก ความต้านทานและการนำไฟฟ้า ความตกลงปางหลวง ความตกลงการสงบศึกเกาหลี ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ความตกลงอังกฤษ-รัสเซีย ความตกลงเชงเกน