ภูมิหลัง ของ ความตกลงมิวนิก

หลังจากที่เยอรมันละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายโดยการส่งทหารเข้าสู่พื้นที่ไรน์แลนด์ได้สำเร็จโดยไม่มีผู้ใดขัดขวาง ฮิตเลอร์จึงดำเนินการขั้นต่อไปโดยที่จะทำให้เยอรมันเป็นมหาอาณาจักร และใน ค.ศ. 1938 ฮิตเลอร์สามารถรวมออสเตรียเข้ากับเยอรมันได้สำเร็จ ซึ่งเป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย หลังจากนั้นฮิตเลอร์คิดจะรวมแคว้นซูเดเทิน (Sudeten) ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเชโกสโลวาเกีย โดยการโฆษณาชวนเชื่อให้เกิดความรู้สึกชาตินิยม ชาวเยอรมันในแคว้นสุเดเทนจึงลุกขึ้นพยายามเรียกร้องเอกราชและคิดที่จะรวมเข้าอยู่กับเยอรมนี โดยมีคอนราด เฮนไลน์ (Konrad Henlein) เป็นผู้นำ ฮิตเลอร์ได้ประกาศพร้อมช่วยเหลือแคว้นซูเดเทิน รัฐบาลเชโกสโลวาเกียไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้อง เพราะจะเป็นตัวอย่างแก่ชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ

อังกฤษได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนี้โดยยึดนโยบายเดิมคือการตกลงโดยสันติวิธีและหลีกเลี่ยงการทำสงคราม ซึ่งอังกฤษได้ข้อร้องให้เชกโกสโลวาเกียตกลงตามข้อเรียกร้องของคอนราด เฮนไลน์ แต่เยอรมันก็ขู่ที่จะใช้กำลังทหารบังคับ

เนวิล เชมเบอร์เลน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ถือกระดาษบันทึกข้อตกลงนำออกแสดงต่อฝูงชน ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938

ใกล้เคียง

ความตาย ความตลกขบขัน ความตกลงมิวนิก ความต้านทานและการนำไฟฟ้า ความตกลงปางหลวง ความตกลงการสงบศึกเกาหลี ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ความตกลงอังกฤษ-รัสเซีย ความตกลงเชงเกน