การดูแลรักษามีสหสัมพันธ์กับความน่ารัก ของ ความน่ารัก

ส่วนงานวิจัยในปี ค.ศ. 1990 บอกเป็นนัยว่า "ความเชื่อของผู้ใหญ่เกี่ยวกับบุคลิกภาพและพฤติกรรมที่คาดหวังของเด็กทารก มีอิทธิพลต่อปฏิสัมพันธ์ของผู้ใหญ่กับเด็ก"ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่า "ปรากฏการณ์เกี่ยวกับความน่ารักในขั้นพื้นฐานอาจเกิดการปิดบังได้ในทารกบางคน"[13] (คือผลที่เกิดจากความน่ารักของเด็กอาจเปลี่ยนไปได้ตามความคิดของผู้ใหญ่) งานวิจัยในปี ค.ศ. 2006 พบว่า ความรู้สึกของผู้ใหญ่ว่าเด็กน่ารักสามารถกระตุ้นระดับการดูแลรักษาเด็กและความรู้สึกชอบใจในเด็กที่ต่าง ๆ กันแต่ก็สรุปความอีกอย่างหนึ่งด้วยว่า "ความรู้สึกว่าควรดูแลรักษาเด็กในผู้ใหญ่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญกว่าในการกำหนดความน่ารักของเด็กผู้ชาย"[12]

ตารางนี้แสดงการแต่งสัดส่วนใบหน้าภาพทารกโดยใช้ระบบดิจิทัล โดยปรับขึ้น (↑) หรือ ปรับลง (↓) เมื่อเทียบกับภาพที่ไม่ได้แต่ง มีผลให้ทารกรับการระบุว่าน่ารักหรือไม่น่ารักการปรับแต่งจำกัดอยู่ในระดับ ±2 ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อไม่ทำให้ผิดปกติจากใบหน้าจริง ๆ

ตารางแสดงการปรับระดับความน่ารักของทารก[17]
น่ารักไม่น่ารัก
ความกว้างของใบหน้า
ความยาวของหน้าผาก/ใบหน้า
ความกว้างของตา/ใบหน้า
ความยาวของจมูก/ศีรษะ
ความกว้างของจมูก/ใบหน้า
ความกว้างของปาก/ใบหน้า

ส่วนอีกงานวิจัยหนึ่งในปี ค.ศ. 2009 แสดงหลักฐานว่า ควาน่ารักของทารกกระตุ้นการดูแลรักษาของผู้ใหญ่ แม้ผู้ไม่ใช่ญาติ[17] คือ นักวิจัยให้ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนความน่ารักของภาพทารกแล้วสังเกตว่าผู้ร่วมการทดลองมีแรงจูงใจที่จะดูแลรักษาทารกแค่ไหนผลงานวิจัยบอกเป็นนัยว่า คะแนนที่ให้กับความน่ารักของทารกสอดคล้องกับระดับแรงจูงใจในการดูแลทารก[17] นอกจากนั้นแล้ว นักวิจัยยังใช้ fMRI เพื่อที่จะแสดงว่า เด็กที่มีใบหน้าที่มีลักษณะน่ารักมากกว่า จะทำให้เกิดการทำงานในเขตสมอง nucleus accumbens ที่เป็นส่วนของ basal ganglia และมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับความสุขใจมีการหัวเราะเป็นต้น และแรงจูงใจ ในระดับที่สูงกว่า[3]ดังนั้น งานวิจัยจึงช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกทางประสาทที่แผนภาพทารก (ที่น่ารัก) กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการดูแลรักษานอกจากนั้นแล้ว ทารกที่น่ารักมีโอกาสสูงกว่าที่จะได้รับเลี้ยงเป็นลูก และจะได้รับการระบุว่า "น่าชอบใจ ดูเป็นมิตร มีสุขภาพดี และเก่ง" สูงกว่าทารกที่น่ารักน้อยกว่าซึ่งชี้ว่า ปฏิกิริยาต่อความน่ารักของทารกเป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการในมนุษย์ เพราะเป็นฐานของการให้เกิดการดูแลและของความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ผู้เป็นคนดูแล[17]

งานวิจัยของค็อนแรด ลอเร็นซ์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 เสนอว่า รูปร่างศีรษะของทารกอาจทำให้ผู้ใหญ่เกิดการดูแลรักษาทารก และความรู้สึกว่าน่ารักและหลังจากนั้นก็มีงานต่าง ๆ ที่แสดงความสำคัญของรูปร่างศีรษะของเด็กแต่ว่า งานวิจัยในปี ค.ศ. 1981 งานหนึ่งพบว่า งานวิจัยเกี่ยวกับรูปร่างศีรษะของเด็กเหล่านั้น มักจะมีความผิดพลาดในวิธีการหรือใช้สิ่งเร้าที่ไม่ดีแต่ในที่สุดก็สรุปว่า รูปร่างศีรษะของทารกทำให้เกิดปฏิกิริยาเชิงบวกจากผู้ใหญ่จริง ๆ และเด็กที่มีรูปร่างศีรษะเหมือนทารกจะได้รับพิจารณาว่าน่ารักกว่าในงานวิจัยนี้ นักวิจัยให้นักศึกษาชั้นปริญญาตรีให้คะแนนกับรูปเส้นของใบหน้าทารกคือมีการใช้ภาพเดียวกันในการให้ดูแต่ละครั้ง แต่ว่า รูปร่างของศีรษะแต่ละครั้งจะเปลี่ยนไปโดยฟังก์ชันการแปลงแบบ "cardioidal transformation" ซึ่งเปลี่ยนรูปร่างศีรษะให้ไปเป็นไปตามลำดับอายุ แต่ว่า รูปร่างของลักษณะใบหน้าอื่น ๆ จะเหมือนเดิมงานวิจัยสรุปว่า ศีรษะที่ใหญ่ทำให้รู้สึกว่าน่ารัก แล้วจึงทำให้เกิดปฏิกิริยาเพื่อดูแลรักษาในเชิงบวกของผู้ใหญ่นักวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ความรู้สึกว่าน่ารักยังขึ้นอยู่กับลักษณะรูปร่างหน้าตาและพฤติกรรมอื่น ๆ ของเด็ก รวมทั้งอายุ[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความน่ารัก http://cuteoverload.com/ http://flickr.com/photos/tags/cuteness/clusters/ http://oxforddictionaries.com/us/definition/americ... http://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1207/s153248... http://todd.jackman.villanova.edu/HumanEvol/Homage... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22267884 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3260535 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19175530 http://www.researchgate.net/profile/Thomas_Alley/p... http://web.archive.org/web/20070927105817/http://w...