อิทธิพลต่อสื่อ ของ ความน่ารัก

นักวิชาการทางมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลได้กล่าวว่า ใบหน้าของลิง สุนัข นก และแม้แต่หน้ารถยนต์ สามารถทำให้ดูน่ารักขึ้นโดยการแปลงแบบ "cardioidal transformation"คือ การแปลงสภาพให้ใบหน้าดูเป็นผู้ใหญ่น้อยกว่าและน่ารักกว่า จะทำให้ลักษณะต่าง ๆ ด้านบนของหน้าขยายออกทางด้านข้างและทางด้านบน ในขณะที่ทำให้ลักษณะของใบหน้าด้านล่างลดเข้าทั้งทางด้านข้างและทางด้านล่าง[5]

นักบรรพมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่งกล่าวว่า ตามประวัติแล้วมีการวาดมิกกี้ เมาส์ให้เหมือนกับเด็กเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีศีรษะที่ใหญ่ขึ้น ตาที่ใหญ่ขึ้น กะโหลกศีรษะที่ป่องออก หน้าผากที่ลาดเอียงน้อยลงและกลมขึ้น มีขาที่สั้น หนา และอ้วนขึ้น มีแขนหนาขึ้น และจมูกที่หนาขึ้นซึ่งทำให้เหมือนกับยื่นออกมาน้อยลงแล้วเสนอว่า การเปลี่ยนรูปร่างของมิกกี้ เมาส์มีจุดหมายเพื่อเพิ่มความนิยมโดยทำให้น่ารักขึ้นและดูเป็นภัยน้อยลง และได้กล่าวอีกด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงให้รูปร่างเหมือนกับเด็กเช่นนี้ เลียนแบบวิวัฒนาการทางธรรมชาติของมนุษย์ที่มีรูปร่างลักษณะบางอย่างเหมือนเด็กแม้ในวัยผู้ใหญ่ (Neoteny)[1]

ความรู้สึกว่าน่ารักมีความแตกต่างกันในระหว่างวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งแสดงว่า ความรู้สึกว่าน่ารักอาจจะมีความสัมพันธ์กับความปรารถนาเพื่อจะเป็นที่ยอมรับของสังคม[18]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความน่ารัก http://cuteoverload.com/ http://flickr.com/photos/tags/cuteness/clusters/ http://oxforddictionaries.com/us/definition/americ... http://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1207/s153248... http://todd.jackman.villanova.edu/HumanEvol/Homage... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22267884 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3260535 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19175530 http://www.researchgate.net/profile/Thomas_Alley/p... http://web.archive.org/web/20070927105817/http://w...