ปัจจัยที่ทำให้ความรุนแรงต่อสตรีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ของ ความรุนแรงต่อสตรีในประเทศไทย

ความอนุรักษนิยมทางเพศ

บทบาททางเพศแบบดั้งเดิมในสังคม และระบบปิตาธิปไตยที่สร้างและส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงต่อสตรีในประเทศไทย ปัจจัยสำคัญสองแหล่งคือศาสนาพุทธแบบไทยและค่านิยมแบบครอบครัวไทยดั้งเดิม[1]

ศาสนาพุทธแบบไทย

ศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาทางการของประเทศไทย แต่ 93% ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธ ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กำหนดให้รัฐบาลไทยช่วยเหลือโรงเรียนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและปกป้องศาสนาพุทธจากความเสื่อมเสียทุกรูปแบบ[7] ในศาสนาพุทธแบบไทย ผู้หญิงมีความด้อยกว่าผู้ชาย บทบาทสำคัญของสตรีในศาสนาพุทธแบบไทยคือการให้การสนับสนุนพระสงฆ์ซึ่งมักจะเป็นผู้ชาย และกิจกรรมต่าง ๆ ของวัด ควบคู่ไปกับการถวายสังฆทาน อันเป็นหนทางเดียวที่สตรีจะได้รับบุญทางศาสนา "กรรมล่าง" ของผู้หญิงทำให้พวกเธอต้องทนทุกข์ทรมานกับชีวิตที่ต้องอดทนเพื่อจะได้เกิดใหม่เป็นผู้ชายในชาติหน้า สตรีในประเทศไทยที่เคยประสบกับความรุนแรงในครอบครัวมักได้รับคำแนะนำจากพระสงฆ์ให้อดทนและมีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้กระทำความผิด เนื่องจากความทุกข์ยากของเหยื่อนั้นเป็นผลมาจากกรรมชั่วจากชาติปางก่อน[1]

ค่านิยมครอบครัวไทย

ในครอบครัวไทยดั้งเดิม สามีมีหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวและเจ้าบ้าน ภรรยาต้องประพฤติตนให้อ่อนโยน บริสุทธิ์ เชื่อฟังและอยู่ใต้บังคับบัญชาของสามี บทบาทเหล่านี้สามารถย้อนไปถึงกฎหมายในศตวรรษที่ 18 และ 19 ในประเทศไทยที่ยอมรับภรรยาเป็นทรัพย์สินของสามี ซึ่งอาจถูกลงโทษทางร่างกายหรือขายให้ผู้อื่นได้[1]

ค่านิยมของครอบครัวไทยดั้งเดิมเน้นการแบ่งแยกระหว่างการแสดงออกทางสาธารณะและเรื่องส่วนบุคคล ขนบธรรมเนียมของไทยทำให้ความขัดแย้งและปัญหาภายในครอบครัวเป็นเรื่องที่ไม่สมควรเปิดเผยต่อบุคคลอื่น เพื่อรักษาเกียรติของวงศ์ตระกูล สิ่งนี้ยังส่งผลให้ครอบครัวต้องซ่อนการแสดงความรู้สึกและความคิดต่อผู้อื่น[1]

ละครโทรทัศน์ไทย

การข่มขืนและความรุนแรงทางเพศรูปแบบอื่น ๆ ปรากฎในละครไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบหลักของความบันเทิงทางโทรทัศน์ในประเทศในช่วงไพรม์ไทม์ ความรุนแรงทางเพศมักถูกพรรณนาในละครว่าเป็นการกระทำที่สมควรแก่ผู้หญิงที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในละครประเภท "แก้แค้น" ความรุนแรงทางเพศในละครมักถูกทำให้ชอบธรรมในการแสดง ซึ่งเป็นผลมาจากกรรมไม่ดีและการลงโทษทางสังคมตามเพศ อีกทั้งบทละครที่มีฉากดังกล่าว มักชี้นำว่าการกระทำดังกล่าวเป็นชะตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของสตรีเหล่านั้น[8]

ใกล้เคียง

ความรัก ความรุนแรงทางเพศระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ความรุนแรงต่อสตรีในประเทศไทย ความรู้สึกต่อต้านไทย ความรุนแรงต่อสตรี ความร้อน ความรู้สึกว่าตนเขื่อง ความรู้สึก ความรู้

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความรุนแรงต่อสตรีในประเทศไทย //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29904232 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30310331 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5986850 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6166756 //doi.org/10.1007%2Fs10896-018-9960-9 //doi.org/10.1080%2F14672715.2016.1231011 //doi.org/10.1177%2F0192513x10386306 //doi.org/10.2147%2FIJWH.S172870 //www.worldcat.org/issn/0192-513X //www.worldcat.org/issn/1179-1411