ผลกระทบ ของ ความรุนแรงต่อสตรีในประเทศไทย

บุคคล

ในปี 2560 สตรีจำนวน 29% ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวรายงานว่าพวกเธอต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอันเป็นผลมาจากความรุนแรงในครอบครัว, 26.1% ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์หลังจากทะเลาะ/โต้เถียงกับคู่ของตน, 46.7% ของผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวในประเทศไทยรายงานว่าได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย การบาดเจ็บเหล่านี้รวมถึงบาดแผล/ถูกกัด (15.9%) รอยขีดข่วน/ฟกช้ำ (74.8%) เคล็ดขัดยอก (56.1%) แผลไหม้/บาดลึก (6.5%) แก้วหูแตกหรือบาดเจ็บที่ดวงตา (11.2%) และกระดูก/ฟันหัก ( 6.5%) ผลกระทบของความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้หญิงในประเทศไทยมีมากกว่าการบาดเจ็บทางร่างกาย ร้อยละ 61% ของผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวรายงานว่าพวกเธอไม่มีสมาธิในการทำงานหลังจากมีประสบการณ์กับความรุนแรงในครอบครัว ร้อยละ 12.2 ระบุว่าต้องลางานหนึ่งวัน ร้อยละ 23.9 ขาดความมั่นใจและรู้สึกนับถือตนเองต่ำ ร้อยละ 12.2 ระบุว่าไม่ไปทำงานเพราะอับอาย และร้อยละ 9.5 ระบุว่าคู่ของตนสะกดรอยตามขณะอยู่ที่ทำงาน[2]

ครอบครัว

ในปี 2560 ผู้หญิง 49.6% ที่ประสบกับความรุนแรงในครอบครัวรายงานว่าบุตรของเธอพบเห็นความรุนแรง ผู้หญิงเหล่านี้แสดงความวิตกกังวลว่าลูกของพวกเขาจะซึมซับเหตุดังกล่าว และทำให้สืบทอดความรุนแรงในครอบครัวต่อเนื่องไปตลอดชีวิต[2]

ใกล้เคียง

ความรัก ความรุนแรงทางเพศระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ความรุนแรงต่อสตรีในประเทศไทย ความรู้สึกต่อต้านไทย ความรุนแรงต่อสตรี ความร้อน ความรู้สึกว่าตนเขื่อง ความรู้สึก ความรู้

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความรุนแรงต่อสตรีในประเทศไทย //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29904232 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30310331 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5986850 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6166756 //doi.org/10.1007%2Fs10896-018-9960-9 //doi.org/10.1080%2F14672715.2016.1231011 //doi.org/10.1177%2F0192513x10386306 //doi.org/10.2147%2FIJWH.S172870 //www.worldcat.org/issn/0192-513X //www.worldcat.org/issn/1179-1411