ความรุนแรงนอกกฎหมายอันเนื่องจากวัวในอินเดีย
ความรุนแรงนอกกฎหมายอันเนื่องจากวัวในอินเดีย

ความรุนแรงนอกกฎหมายอันเนื่องจากวัวในอินเดีย

ในประเทศอินเดีย ซึ่งวัวได้รับการบูชาโดยประชากรจำนวนมาก มีความรุนแรงนอกกฏหมายเกี่ยวกับวัวเกิดขึ้น (Cow vigilante violence in India) ความรุนแรงนี้ประกอบด้วยการโจมตีของกลุ่มพลเรือนที่ตั้งตนเป็นศาลเตี้ย ภายใต้ชื่อ “ขบวนการปกป้องวัว” ซึ่งตั้งเป้าไปที่กลุ่มคนที่ลักลอบขนวัวโดยผิดกฏหมาย ในบางครั้งแม้แต่การขนวัวโดยถูกตามกฏหมายก็ตกเป็นเป้าของการโจมตีนี้ด้วย จำนวนการโจมตีเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2014[1][2]ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงมายาวนานว่าถึงแม้ข้อมูลรัฐบาลจะบอกว่าความตึงเครียดในประเด็นนี้ในระดับชุมชนได้ลดลงหลังปี 2014 แต่เหตุการณ์ความรุนแรงในความเป็นจริงนั้นได้ลดลงหรือไม่[3][4] รัฐในอินเดียส่วนใหญ่มีกฏหมายของรัฐที่ห้ามการฆ่าวัวควาย[5] กลุ่มศาลเตี้ยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา อ้างว่าตั้งขึ้นเพื่อปกป้องวัวควาย นำไปสู่ความรุนแรงและนำไปสู่การทำร้ายร่างกายถึงแก่ชีวิต กลุ่มปกป้องวัวพวกนี้มองตัวเองว่ากำลังหยุดยั้งการขโมยวัว และทำตัวเป็นผู้พิทักษ์กฏหมายห้ามฆ่าวัวควายในอินเดีย สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่ามีการโจมตีของกลุ่มศาลเตี้ยดังกล่าวรวมถึง 63 ครั้งทั่วอินเดีย ระหว่างปี 2010 ถึงกลางปี 2017 ส่วนมากเกิดขึ้นหลังนเรนทระ โมทีก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวาระแรกในปี 2014 ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุความรุนแรงดังกล่าว 28 คน โดย 24 คนในจำนวนนี้เป็นมุสลิม และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 124 คน[6]เหตุการณ์ศาลเตี้ยนี้เกิดขึ้นมากขึ้นมากหลังพรรคภารตียชนตา (BJP; Bharatiya Janata Party) ชนะการเลือกตั้งเข้าสู่การเป็นรัฐบาลกลางเมื่อปี 2014 ความถี่และความรุนแรงของศาลเตี้ยเหล่านี้ถือว่าเกิดขึ้น “เป็นประวัติการณ์” (unprecedented)[7] ฮิวแมนไรตส์วอตช์ รายงานว่าเหตุการณ์ศาลเตี้ยอันเนื่องจากวัวนี้เพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ปี 2015[8] การเพิ่มจำนวนนี้ส่วนหนึ่งมาจากชาตินิยมฮินดูที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในอินเดีย[7][9] กลุ่มศาลเตี้ยจำนวนมากระบุว่าพวกเขารู้สึก “มีอำนาจ” ขึ้นจากชัยชนะของพรรค BJP ซึ่งเป็นพรรคชาตินิยมฮินดู ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2014[10][11] ศาลสูงอินเดียออกกฏในเดือนกันยายน ปี 2017 ว่า แต่ละรัฐควรมีเจ้าหน้าที่ตำรวจในลนแต่ละเขตเพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ย่านกลาง (nodal officer) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเด็ดขาดต่อกลุ่มที่ตั้งตนเป็นศาลเตี้ยนอกจากนี้ศาลยังแสดงความเป็นห่วงว่าสัตว์เหล่านี้กำลังถูกฆ่าอย่างผิดกฏหมาย อย่างเช่นกรณีพบซากศพของวัวควายที่ถูกฆ่ากว่า 200 ตัวลอยเกลื่อนในแม่น้ำพิหาร[12]

ใกล้เคียง

ความรัก ความรุนแรงทางเพศระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ความรุนแรงต่อสตรีในประเทศไทย ความรู้สึกต่อต้านไทย ความรุนแรงต่อสตรี ความรู้สึกว่าตนเขื่อง ความร้อน ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว ความรู้สึก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความรุนแรงนอกกฎหมายอันเนื่องจากวัวในอินเดีย http://in.reuters.com/article/india-protests-musli... http://time.com/4838566/india-beef-lynching-attack... http://m.timesofindia.com/india/take-urgent-steps-... https://www.bbc.com/news/world-asia-india-34513185 https://www.bbc.com/news/world-asia-india-40505719 https://www.ft.com/content/f28160ca-6acb-11e7-bfeb... https://books.google.com/books?id=Hl0Gbo8WkOAC&pg=... https://www.huffingtonpost.in/2017/07/03/can-data-...