เทียบกับความสมเหตุผลภายนอก ของ ความสมเหตุสมผลทางนิเวศ

ความสมเหตุสมผลทางนิเวศมักจะสับสนกับความสมเหตุสมผลภายนอก (external validity) ซึ่งเป็นความสมเหตุสมผลของผลที่พบ ว่าจะเป็นจริงโดยทั่วไปในสถานการณ์อื่น ๆ และกับคนอื่น ๆ นอกงานวิจัยหรือไม่แม้ว่าความสมเหตุสมผลเหล่านี้จะสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แต่ก็เป็นอิสระต่อกัน งานศึกษาหนึ่งอาจจะมีความสมเหตุผลภายนอก แต่ไม่มีความสมเหตุสมผลทางนิเวศ และนัยตรงกันข้ามก็เป็นจริงด้วย[3][4]ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยคดีที่ใช้ลูกขุนจำลอง (mock-jury) เป็นงานศึกษาว่าคนจะประพฤติปฏิบัติอย่างไรถ้าเป็นลูกขุนในคดี แต่ว่า งานวิจัยเช่นนี้มากมายเพียงแต่ให้คำให้การของพยานหรือบทสรุปของคดี และทำในห้องเรียนหรือสำนักงานดังนั้น การทดลองเช่นนี้ไม่คล้ายกับสิ่งที่เห็นได้ รู้สึกได้ และวิธีการที่พบได้ในศาลจริง ๆ และดังนั้น จึงไม่มีความสมเหตุสมผลทางนิเวศแต่ว่า สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือความสมเหตุสมผลภายนอก คือถ้าผลที่ได้จากงานศึกษาเช่นนี้สามารถใช้ได้โดยทั่วไปในคดีจริง ๆ งานวิจัยนี้สมเหตุสมผลโดยทั่วไป แม้ว่าจะมีข้อบกพร่องบางอย่างอย่างไรก็ดี การปรับปรุงความสมเหตุสมผลทางนิเวศ มักจะปรับปรุงความสมเหตุสมผลภายนอกเช่นกัน[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ ความสัมพันธ์เนโท–สวีเดน ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย