ความสัมพันธ์ทวิภาคี ของ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศของลาว

สาธารณรัฐประชาชนจีน

ความสัมพันธ์กับจีนได้พัฒนาขึ้น แม้ว่าในระหว่างสงครามเวียดนามและสงครามจีน-เวียดนาม พ.ศ. 2522 ทำให้มีความตึงเครียดระหว่างลาว-จีน จนเข้าสู่สภาวะปกติใน พ.ศ. 2532

ฝรั่งเศส

หลังจากทำสนธิสัญญากับสยามใน พ.ศ. 2436 และ พ.ศ. 2447 ฝรั่งเศสได้รวมลาวเข้ากับอินโดจีนฝรั่งเศส ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นเข้ายึดครองอินโดจีนฝรั่งเศส เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม กลุ่มลาวอิสระได้ประกาศเอกราชของลาว แต่ใน พ.ศ. 2489 กองทัพฝรั่งเศสเข้ามายึดครองลาวอีกครั้ง และให้เอกราชที่จำกัดแก่ลาว ระหว่างสงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนได้จัดตั้งขบวนการปะเทดลาวเพื่อเรียกร้องเอกราชของลาว ลาวได้เอกราชที่สมบูรณ์หลังสนธิสัญญาเจนีวา พ.ศ. 2497 ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศอยู่ในระดับปกติ

ไทย

ไทยเป็นเส้นทางหนึ่งที่ช่วยให้ลาวสามารถออกสู่ทะเลได้ ทำให้มีความสัมพันธ์ทั้งทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม แต่ทั้งสองประเทศมีความขัดแย้งกันเรื่องพรมแดน ดังเช่นที่เคยเกิดการปะทะใน พ.ศ. 2530 ในปัจจุบันมีการสร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างสองประเทศ

สหรัฐอเมริกา

ความสัมพันธ์ระหว่างลาวและสหรัฐอเมริกาเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2493 ซึ่งลาวได้รับเอกราชที่จำกัดในสหภาพฝรั่งเศส ความสัมพันธ์นี้ยังคงอยู่ในระดับนี้จนถึง พ.ศ. 2497 สหรัฐได้ให้ความช่วยเหลือแก่ลาวฝ่ายขวาระหว่างสงครามกลางเมืองลาว ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดีขึ้นอีกครั้งหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ปัจจุบัน สหรัฐได้ให้ความช่วยเหลือแก่ลาว

เวียดนาม

เมื่อมีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวใน พ.ศ. 2518 ลาวมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับเวียดนามเป็นพิเศษ ในปัจจุบัน แม้ว่าลาวจะติดต่อกับจีนและไทยมากขึ้น แต่ลาวกับเวียดนามก็มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดทั้งทางเศรษฐกิจและการลงทุน[1]

ใกล้เคียง

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย ความสัมพันธ์เนโท–สวีเดน