ความสัมพันธ์อินเดีย–ไทย
ความสัมพันธ์อินเดีย–ไทย

ความสัมพันธ์อินเดีย–ไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย (ฮินดี: भारत-थाईलैंड संबंध) เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2490 ไม่นานหลังจากอินเดียได้รับเอกราชจากจักรวรรดิบริติช ประเทศอินเดียและประเทศไทยมีพรมแดนทางทะเลที่ติดกันบริเวณหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ของอินเดียและทะเลอันดามันของประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ไทยและอินเดียมีการสานต่อความสัมพันธ์อันดีต่อกันเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งจากการเพิ่มความร่วมมือในเชิงธุรกิจและเศรษฐกิจ, การแลกเปลี่ยนกันเยี่ยมเยือนโดยผู้นำหรือตัวแทนระดับสูงของรัฐ และการลงนามในหลายข้อตกลงร่วมกันหลายฉบับเพื่อเพิ่มความแน่นแฟ้นในสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้มีมากขึ้น นอกจากนี้ไทยกับอินเดียยังมีความสัมพันธ์กันในระดับพหุภาคีหลายส่วน เช่น ในฐานะความสัมพันธ์ของอินเดียกับอาเซียน, สภาภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Regional Forum; ARF), การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และกลุ่มความร่วมมือบิมสเทค (BIMSTEC) ที่ประกอบด้วยบังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า เนปาล และภูฏาน รวมถึงการเดินทางขนส่งระดับไตรภาคีระหว่างอินเดีย ไทย และพม่า อินเดียยังเป็นสมาชิกของความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue; ACD) และกลุ่มความร่วมมือแม่น้ำโขง-คงคา (Mekong–Ganga Cooperation; MGC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกหกประเทศสถานเอกอัครราชทูตไทยในอินเดียตั้งอยู่ที่กรุงนิวเดลี และมีสถานกุลไทยในอินเดีย 3 แห่ง ได้แก่ที่มุมไบ โกลกาตา และเจนไน ในขณะที่สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยตั้งอยู่ที่ซอยประสานมิตร เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร และมีสถานกงสุลอินเดียที่จังหวัดเชียงใหม่นอกจากนี้ อินเดียและไทยยังมีความสัมพันธ์กันในเชิงวัฒนธรรมมานานหลายศตวรรษ โดยวัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียอย่างมาก เช่น คำในภาษาไทยที่มีรากมาจากภาษาสันสกฤตและภาษาบาลีของแคว้นมคธ ศาสนาพุทธแบบเถรวาท หรือแม้แต่มหากาพย์รามายณะของฮินดูก็เป็นที่รู้จักดีในฐานะรามเกียรติ์ของประเทศไทย

ใกล้เคียง

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย ความสัมพันธ์เนโท–สวีเดน