ภาษาสันสกฤต

ภาษาสันสกฤต (สันสกฤต: संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; संस्कृतम्, สํสฺกฺฤตมฺ) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีกเป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ[3] โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรรพ์

ภาษาสันสกฤต

ภูมิภาค เอเชียใต้และพื้นที่หลายส่วน
ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตระกูลภาษา
ออกเสียง [sɐ̃skr̩t̪ɐm]
ระบบการเขียน อักษรเทวนาครี
และอักษรพราหมีอื่น ๆ[2]
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาพระเวท
  • ภาษาสันสกฤต
ยุค ประมาณสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช – 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช
(ภาษาพระเวท);[1]
600 ปีก่อนคริสต์ศักราช–ปัจจุบัน
(ภาษาสันสกฤตคลาสสิก)
ISO 639-1 sa
ISO 639-3 san
ISO 639-2 san