อักษรเทวนาครี
อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี ([เท-วะ-นา-คะ-รี]; สันสกฤต: देवनागरी) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่น ๆ ในประเทศอินเดียอักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็ก ๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง ๆ

อักษรเทวนาครี

ISO 15924 Deva
ช่วงยุค ประมาณ พ.ศ. 1743 (ค.ศ. 1200)–ปัจจุบัน
ระบบแม่
ช่วงยูนิโคด U+0900–U+097F,
U+A8E0–U+A8FF
ระบบลูก อักษรคุชราต
อักษรโมฑี
อักษรรัญชนา
Canadian Aboriginal syllabics
ชนิด อักษรสระประกอบ
ระบบพี่น้อง อักษรศารทา, อักษรนาครีตะวันออก
ภาษาพูด หลายภาษาในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน เช่น ภาษาสันสกฤต, ภาษาฮินดี, ภาษามราฐี, ภาษาเนปาล, ภาษาภิล, ภาษากอนกานี, ภาษาโภชปุรี, ภาษามคธี, ภาษาไมถิลี, ภาษากุรุข, ภาษาเนวารี และบางครั้งในภาษาสินธีและภาษาแคชเมียร์ เคยใช้เขียนภาษาคุชราต บางครั้งใช้เขียนหรือทับศัพท์ภาษาเศรปา