ศัพทมูลวิทยา ของ อักษรเทวนาครี

ภาษาสันสกฤต คำว่า นาครี เป็นสตรีลิงค์ ของ นาคร หมายถึง เกี่ยวกับเมือง เป็นคุณนาม จากคำนาม นคร ซึ่งหมายถึงเมือง ที่ใช้รูปสตรีลิงค์ เพราะนี้ เดิมใช้บ่งบอกนามสตรีลิงค์ ลิปิ ซึ่งหมายถึง อักษร ในที่นี้ จึงหมายถึงอักษรของชาวเมือง หรืออักษรของผู้มีวัฒนธรรม อักษรนาครีนั้นมีที่ใช้หลากหลาย อักษรที่มีคำว่า เทวะ (เทวดา) เติมข้างหน้า หมายถึง อักษรของเทวดา หรืออักษรที่ใช้ของชาวเมืองชั้นสูงนั่นเอง

ปัจจุบันมีการใช้คำว่า "เทวนาครี" อย่างกว้างขวาง แต่เรียกสั้นๆ ว่า "นาครี" ก็พบเห็นได้ทั่วไป ซึ่งมีความหมายถึงอักษรอย่างเดียวกันนี้ ความนิยมใช้เทวนาครีอย่างแพร่หลายนั้น เกี่ยวโยงกับการใช้ในยุคอาณานิคม ซึ่งแทบจะใช้อักษรเทวนาครีเพียงอย่างเดียว ในการตีพิมพ์งานสันสกฤต แม้ว่าภาษาสันสกฤตนั้น สามารถใช้อักษรต่างๆ ได้แทบทุกแบบของอินเดียก็ตาม และด้วยเหตุนี้ จึงมักจะทำให้มีการผูกโยงระหว่างอักษรเทวนาครีและภาษาสันสกฤต จนมีความเชื่อผิดๆ ไปอย่างกว้างขวาง เรียกอักษรนี้ว่า "อักษรสันสกฤต" ก็มี