ประวัติ ของ ความสัมพันธ์อิสราเอล–ไทย

เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 หน่วยจู่โจมสี่คนของกลุ่มก่อการร้ายปาเลสไตน์แบล็กเซปเทมเบอร์ได้บุกเข้าสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลในกรุงเทพมหานคร และจับเอกอัครราชทูตรวมถึงผู้มาเยือนของเขาหลายคนเป็นตัวประกัน ส่วนสมาชิกรัฐบาลไทยสองคน ได้แก่ ทวี จุลละทรัพย์ และชาติชาย ชุณหะวัณ ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2531 พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตอียิปต์ประจำประเทศไทย มุสตาฟา เอล อัสซาวี ได้เจรจาต่อรองการปล่อยตัวตัวประกัน และเสนอตัวเองรวมถึงเจ้าหน้าที่ไทยคนอื่น ๆ อีกหลายคนเพื่อเป็นการประกันความปลอดภัยของผู้ก่อการร้ายในกรุงไคโร จากนั้นนายกรัฐมนตรี โกลดา เมอีร์ ของอิสราเอลได้กล่าวยกย่องรัฐบาลไทยในด้านการเจรจาต่อรองเพื่อยุติวิกฤตการณ์ที่ไร้เลือด[4]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดฟาร์มทดลองเทคโนโลยีการเกษตรไทย–อิสราเอลเพื่อการชลประทานพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนี้ มีหอการค้าไทย–อิสราเอล, มูลนิธิชมรมไทย-อิสราเอล รวมถึงชุมชนเล็ก ๆ ของชาวอิสราเอลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย[1]

หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมในปี พ.ศ. 2554 อิสราเอลได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำมายังประเทศไทย ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่างสองประเทศ

ในปี พ.ศ. 2555 ทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงการค้า

ประเทศไทยยอมรับปาเลสไตน์ในปี พ.ศ. 2555[5] ครั้นในช่วงความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557 รัฐบาลไทยสนับสนุนการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติและเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายแสดงความยับยั้งชั่งใจ[6] โดยระบุเพิ่มเติมว่าจะให้การสนับสนุนทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ต่อไป แต่จะไม่ให้อภัยต่อกรณีของผู้ก่อการร้ายทั้งสองฝ่าย[7]

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำสำหรับชาวอิสราเอล[ต้องการอ้างอิง] และประเทศอิสราเอลเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับแรงงานไทย ชาวไทยกว่า 20,000 คนมีงานทำในอิสราเอลในด้านการเกษตรรวมถึงในร้านอาหารเอเชียในฐานะคนครัว พวกเขาทำงานอย่างถูกกฎหมายภายใต้การอุปถัมภ์ของข้อตกลงทวิภาคีระหว่างไทย–อิสราเอล โดยความร่วมมือไทย-อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน (TIC)[8]

เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ[9]

ส่วนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2558 อิสราเอลและไทยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางการแพทย์[10]

รวมถึงคณะผู้แทนจากสมาคมอุตสาหกรรมไทยได้เดินทางเยือนประเทศอิสราเอลในปี พ.ศ. 2558[11]

คนไทยโดยทั่วไปไม่แยแสต่อความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ แต่ชนหมู่น้อยชาวมุสลิมในประเทศเกือบสี่ล้านโดยทั่วไปจะเห็นใจต่อปาเลสไตน์[12][13]

ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม พ.ศ. 2561 หน่วยคอมมานโดและเทคโนโลยีของอิสราเอลได้ให้การสนับสนุนหน่วยซีลของไทยในช่วงภารกิจปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ซึ่งได้รับการเผยแพร่อย่างมาก ปฏิบัติการดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ โดยสามารถช่วยชีวิตทีมฟุตบอลไว้ได้ทั้งหมด

ใกล้เคียง

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศไทย ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสุขของกะทิ ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความสัมพันธ์อิสราเอล–ไทย http://www.haaretz.com/israel-news/thailand-offici... http://islamicvoiceofturkey.com/photosthai-muslims... http://www.nationmultimedia.com/2009/01/06/nationa... http://www.pattayamail.com/thailandnews/thailand-a... http://www.thaivisa.com/forum/topic/745068-thailan... http://mfa.gov.il/mfa/mashav/latest_news/pages/isr... http://bangkok.mfa.gov.il/mfm/web/main/document.as... http://www.jewishvirtuallibrary.org/thailand-virtu... http://www.mfa.go.th/main/en/media-center/14/47731... http://www.mfa.go.th/web/1315.php?depid=210