ความสัมพันธ์เยอรมนี–ไทย
ความสัมพันธ์เยอรมนี–ไทย

ความสัมพันธ์เยอรมนี–ไทย

ความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเยอรมนีกับประเทศไทย ที่เริ่มต้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเยือนยุโรปใน พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 รวมทั้งโอรสหลายพระองค์ต่างทรงรับการศึกษาที่ประเทศเยอรมนี ดังเช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการในสมัยนั้น ที่ทรงอภิเษกสมรสกับสตรีชาวเยอรมัน[2]ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง ที่มีชาวต่างชาติรวมถึงชาวเยอรมันที่เดินทางมายังประเทศสยามเพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ทั้งทางรถไฟ การไปรษณีย์โทรเลขต่างได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน รวมถึงพระเจนดุริยางค์ หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ เป็นบุตรของชาวเยอรมันที่อพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทย[2]ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้ยังคงมีมาโดยตลอด โครงการที่รัฐบาลเยอรมันให้ความสำคัญ คือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ดังเช่น การวิจัยการสืบพันธุ์ของช้างเอเชีย โดยมีการขอยืมช้างไทยไปวิจัยศึกษาที่สวนสัตว์ในโคโลญ อันเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและวิทยาศาสตร์ระหว่างสองประเทศ[3]

ใกล้เคียง

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย ความสัมพันธ์เนโท–สวีเดน