ประวัติ ของ ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ

คริสต์ศตวรรษที่ 19

การติดต่อครั้งแรกระหว่างประเทศไทย (ที่รู้จักกันในชื่อสยาม) และสหรัฐ ได้เข้ามาในปี ค.ศ. 1818 เมื่อกัปตันเรือชาวอเมริกันเดินทางมาที่ประเทศนี้ โดยมีจดหมายจากประธานาธิบดี เจมส์ มอนโร จากสหรัฐ[4] ส่วนอิน-จัน ได้ย้ายถิ่นไปในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1830 ครั้นปี ค.ศ. 1832 ประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ็กสัน ได้ส่งรัฐทูต เอดมันด์ โรเบิตส์ ของเขา ผ่านทางเรือสลุปศึกพีค็อก ของสหรัฐ ไปยังราชสำนักโคชินไชนา, สยาม และมัสกัต[5] โรเบิตส์ได้สรุปสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1833 โดยเจ้าพระยาพระคลังเป็นตัวแทนของกษัตริย์พระนั่งเกล้า ลงนามให้สัตยาบันแลกเปลี่ยนวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1836 และประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1837[6] ส่วนแพทย์นาวี วิลเลียม รัสเชนเบอร์เกอร์ ได้มาพร้อมกับภารกิจหวนคืนเพื่อแลกเปลี่ยนสัตยาบัน รายงานของเขา และของนายโรเบิตส์ได้รับการรวบรวม, แก้ไข และเผยแพร่อีกครั้งในฐานะ นักการทูตชาวอเมริกันสองคนในสยามยุค 1830 (Two Yankee Diplomats In 1830's Siam)[7] วันครบรอบ 150 ปีภารกิจของโรเบิตส์เป็นที่เด่นชัดในปี ค.ศ. 1982 โดยการออกฉบับพิมพ์ครั้งแรกของ ความสัมพันธ์ไทย-อเมริกัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2376 (The Eagle and the Elephant: Thai-American relations since 1833) ตามด้วยการตีพิมพ์ใหม่หลายครั้งรวมถึงฉบับเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ เมื่อ ค.ศ. 1987 และฉบับกาญจนาภิเษก 50 ปี เมื่อ ค.ศ. 1997[8][9] สิ่งนี้ได้รับการยืนยันจากอดีตนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ซึ่งในปี ค.ศ. 2008 ได้พบกับจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ใน "การเฉลิมฉลองครบรอบ 175 ปี ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ"[10]

ประเทศไทยจึงเป็นชาติในเอเชียชาติแรกที่ได้ทำข้อตกลงทางการทูตอย่างเป็นทางการกับสหรัฐ ซึ่งเป็นสิบเอ็ดปีก่อนต้าชิง และยี่สิบเอ็ดปีก่อนโทกูงาวะญี่ปุ่น ส่วนในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1856 ทาวน์เซนด์ แฮร์ริส ตัวแทนของประธานาธิบดี แฟรงกลิน เพียร์ซ ได้เจรจาขอแก้ไชสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์ และการเดินเรือ กับผู้แทนของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่สี่) ที่ให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตเพิ่มเติมแก่ชาวอเมริกัน ซึ่งสตีเฟน แมตตทูน มิชชันนารีชาวอเมริกันผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามแปลภาษาของแฮร์ริส ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลสหรัฐคนแรกประจำสยาม[11][12] (บทละครเดอะคิงแอนด์ไอของร็อดเจอร์ส และแฮมเมอร์สไตน์ กล่าวถึงผ่านสิ่งนั้นว่าพระมหากษัตริย์มีแผนที่จะส่งช้างศึกไปช่วยประธานาธิบดีลินคอล์นในมหาสงคราม ซึ่งจดหมายฉบับจริงส่งโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังได้รับของขวัญจากสหรัฐ โดยส่งไปยังประธานาธิบดีเมื่อเจมส์ บูแคนัน ดำรงตำแหน่ง เพื่อเสนอช้างสำหรับผสมพันธุ์ไม่ใช่การทำสงคราม ซึ่งลินคอล์นได้รับข้อเสนอ แต่ปฏิเสธไปอย่างสุภาพ)[13]

เซมโพรนิอุส เอช. บอยด์ อัครราชทูตประจำ/กงสุลใหญ่ประจำสยามคนที่สาม

ใกล้เคียง

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ ความสัมพันธ์เนโท–สวีเดน ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ http://www.gallup.com/poll/158855/snapshot-leaders... http://www.historybuff.com/newsletter/june-11.html http://www.orchidbooks.com/book_reviews/two_yank_d... http://thailand-usa.com/history/history-diplomacy-... http://bangkok.usembassy.gov/index.html http://bangkok.usembassy.gov/relation/timeline.htm... http://www.iie.org/Research-and-Publications/Open-... http://publicdiplomacycouncil.org/commentaries/pub... //www.worldcat.org/oclc/12212199 //www.worldcat.org/oclc/2002455024