สนธิสัญญาคานางาวะ

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งสนธิสัญญาคานางาวะ (ญี่ปุ่น: 神奈川条約 โรมาจิ: Kanagawa Jōyaku ทับศัพท์: คานางาวะ โจยากุ) หรือ ข้อตกลงคานางาวะ (ญี่ปุ่น: 日米和親条約 โรมาจิ: Nichibei Washin Jōyaku ทับศัพท์: นิจิเบ วาชิน โจยากุ) เป็นสนธิสัญญาที่ได้ทำขึ้นระหว่างพลเรือจัตวา แมทธิว ซี. เพอร์รี แห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลเอโดะ สนธิสัญญาดังกล่าวมีผลให้ญี่ปุ่นต้องเปิดเมืองท่าชิโมดะและฮาโกดาเตะให้ค้าขายกับสหรัฐอเมริกาและรับประกันความปลอดภัยของกะลาสีเรือแตกชาวอเมริกัน อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาดังกล่าวมิได้สร้างพื้นฐานสำหรับการตั้งถิ่นฐานถาวรในบริเวณดังกล่าว[1] สนธิสัญญาได้วางรากฐานสำหรับสหรัฐในการรักษากงสุลถาวรในชิโมดะ การมาถึงของกองเรือของเพอร์รีนำมาซึ่งการสิ้นสุดของนโยบายตัดขาดจากโลกภายนอกเป็นเวลา 200 ปีของญี่ปุ่น (ซาโกกุ)[2]เพอร์รีปฏิเสธที่จะเจรจากับเจ้าหน้าที่ทางการของญี่ปุ่นและต้องการเจรจากับประมุขแห่งรัฐของญี่ปุ่นโดยตรง ในเวลานั้น โชกุน โทกูงาวะ อิเอโยชิ เป็นผู้ปกครองโดยพฤตินัยของญี่ปุ่น และไม่เคยมีธรรมเนียมที่จักรพรรดิจะทรงมีพระราชปฏิสัณฐารกับชาวต่างชาติโดยตรง เพอร์รีจึงเจรจาความกับ ฮิระชิ อะกิระ ผู้ถืออำนาจเต็มแทนโชกุน และจึงถวายหนังสือสัญญาให้จักรพรรดิโคเมทรงลงพระนามรับรอง[3]สนธิสัญญาคานางาวะ ตามมาด้วยสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีและการค้า หรือ "สนธิสัญญาแฮริส" ใน ค.ศ. 1858 ซึ่งอนุญาตให้สัมปทานแก่ชาวต่างประเทศ การมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่ชาวต่างประเทศ และการจำกัดภาษีขาเข้าของสินค้าต่างประเทศ ญี่ปุ่นในเวลาต่อมาจะอยู่ภายใต้ "ระบบสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรม" อันเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างชาติเอเชียและชาติตะวันตกในยุคสมัยดังกล่าว[4]

สนธิสัญญาคานางาวะ

เงื่อนไข โดยได้รับสัตยาบันจากรัฐสภาสหรัฐและมีลายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น
ภาคี สหรัฐอเมริกา
รัฐบาลเอโดะ
ที่ลงนาม โยโกฮามะ
วันลงนาม 31 มีนาคม ค.ศ. 1854
ผู้ลงนาม แมทธิว ซี. เพอร์รี
ฮะยะชิ อะกิระ
วันตรา 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1855
โดยจักรพรรดิโคเม
ภาษา จีน · ญี่ปุ่น · อังกฤษ · ดัตช์
วันมีผล 31 กันยายน ค.ศ. 1855

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา