การแก้ ของ ความเครียด_(จิตวิทยา)

การแก้ความเครียด (stress management) หมายถึงเทคนิกและจิตบำบัดมากมายหลายอย่างที่มุ่งควบคุมระดับความเครียด โดยเฉพาะแบบเรื้อรัง ปกติเพื่อให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้นโดยควบคุมและลดความรู้สึกตึง ๆ ที่เกิดในสถานการณ์เครียดโดยเปลี่ยนอารมณ์หรือเปลี่ยนสถานการณ์

การป้องกันและการสร้างความยืดหยุ่น

แม้จะมีเทคนิกที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อรับมือกับผลของความเครียด แต่ก็มีงานศึกษาเรื่องการป้องกันความเครียดด้วย ซึ่งเป็นประเด็นใกล้เคียงกับเรื่อง "psychological resilience" (ความยืดหยุ่นได้ทางใจ) ในจิตวิทยาและมีวิธีที่ทำเองได้เพื่อป้องกันความเครียดและเพิ่มความยืดหยุ่นทางจิตใจ ที่ได้แนวคิดมาจากการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT)[42]

biofeedback (คือการวัดการตอบสนองทางสรีรภาพด้วยเครื่องมือโดยมีจุดประสงค์เพื่อจะควบคุมการตอบสนองเช่นนั้น ๆ) อาจช่วยแก้ความเครียดงานศึกษาปี 2015 ประเมินผลของ resonant breathing biofeedback (เป็นการสำนึกและควบคุมความต่าง ๆ กันของอัตราการเต้นหัวใจ) ในกลุ่มพนักงานควบคุมการผลิตแล้วพบว่า เทคนิกช่วยลดความซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียดอย่างสำคัญ[43]

กลไกการรับมือ

ดูบทความหลักที่: การรับมือ (จิตวิทยา)

แบบจำลองหนึ่งแสดงว่า เหตุการณ์ภายนอกสร้างแรงกดดันให้ทำกิจให้เกิด ให้มีส่วนร่วมกับ หรือให้ประสบกับเหตุการณ์เครียดความเครียดไม่ใช่เหตุการณ์ภายนอกเอง แต่เป็นการตีความและตอบสนองต่อภัยที่อาจมีดังนั้น จึงสามารถใช้วิธีการรับมือกับความเครียดได้[44]

มีวิธีการหลายอย่างที่สามารถรับมือกับภัยที่อาจทำให้เครียดแต่บุคคลก็มักจะตอบสนองด้วยรูปแบบการรับมืออย่างใดอย่างหนึ่งโดยมาก เช่น โดยไม่สนใจความรู้สึก หรือเปลี่ยนสถานการณ์ที่ทำให้เครียด[44]มีหมวดหมู่การรับมือ/กลไกป้องกันตัวหลายอย่างโดยเป็นไปตามแนวคิดทั่วไปที่เหมือนกัน คือมีวิธีการรับมือกับความเครียดที่ดี/ให้ประโยชน์ และที่ไม่ดี/ไม่มีประโยชน์เพราะความเครียดเป็นความรู้สึก วิธีการที่จะกล่าวดังต่อไปนี้บางอย่างอาจไม่ได้เปลี่ยนสถานการณ์ที่ทำให้เครียดแต่จัดว่าเป็นวิธีการรับมือก็เพราะช่วยให้บุคคลแก้ความรู้สึกเชิงลบและความวิตกกังวลได้ดีกว่า ไม่ใช่แก้ปัญหาที่เป็นเหตุกลไกเหล่านี้ปรับมาจาก DSM-IV Adaptive Functioning Scale (1994) ของสมาคมจิตเวชอเมริกัน (APA)

กลไกที่ปรับตัวได้ดี ต้องทำการ มุ่งแก้ปัญหา

ทักษะเหล่านี้ช่วยเผชิญหน้ากับปัญหาโดยตรง หรืออย่างน้อยก็จัดการอารมณ์เชิงลบอย่างเป็นประโยชน์ คือ โดยทั่วไปเป็นการปรับตัวได้ดี (generally adaptive)

  • การผูกพัน (affiliation) เช่น การดูแลและหาเพื่อน ซึ่งจัดการความเครียดโดยหาความช่วยเหลือ/หาการสนับสนุนจากผู้อื่น/เครือข่ายสังคม แต่ไม่ใช่โดยไม่รับผิดชอบหรือทำให้เป็นหน้าที่ของผู้อื่น[45][46]
  • อารมณ์ขัน (humor) คือมองออกนอกสถานการณ์เพื่อให้ได้มุมมองกว้าง ๆ และเพื่อเน้นจุดขำ ๆ ที่พบในสถานการณ์นั้น ๆ ด้วย[45]
การรับมือผ่านอารมณ์ขัน สมาคมอารมณ์ขันประยุกต์และเพื่อบำบัดโรค (Association for Applied and Therapeutic Humor) นิยามอารมณ์ขันบำบัดว่าเป็น "วิธีการรักษาที่โปรโหมตสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีโดยกระตุ้นการค้นพบ การแสดงออก หรือการเห็นคุณค่าแบบเล่น ๆ ของความน่าขันหรือความไม่กลมเกลียวกันของชีวิตตนเอง การรักษานี้อาจปรับปรุงสุขภาพหรือใช้รักษาความเจ็บป่วยแบบเสริม เพื่ออำนวยให้หายหรือให้รับมือกับสถานการณ์ได้ ไม่ว่าจะทางกาย ทางอารมณ์ ทางประชาน หรือทางจิตวิญญาณ"[47]ประสาทแพทย์ผู้มีชื่อเสียง คือ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ได้เสนอว่า อารมณ์ขันเป็นกลยุทธ์ป้องกันตัวที่ดีในสถานการณ์ที่ทำให้อารมณ์เสีย[44] เพราะเมื่อหัวเราะในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ก็จะทำให้หายวิตกกังวลแล้วคิดได้ดีขึ้น[47] เมื่อสามารถมองสถานการณ์ในแง่มุมอื่น ๆ ก็จะรู้สึกว่าสามารถควบคุมปฏิกิริยา/การตอบสนองของตนได้ แล้วแก้ปัญหาที่เป็นเหตุให้เครียดได้นักจิตวิทยาผู้หนึ่ง (HM Lefcourt) เสนอว่า อารมณ์ขันซึ่งเปลี่ยนมุมมองเช่นนี้มีประสิทธิผลดีเพราะแยกตนเองออกจากสถานการณ์และความเครียด[48] งานศึกษาได้แสดงว่า การหัวเราะและอารมณ์ขันจะบรรเทาความเครียดโดยผลอาจคงยืนถึง 45 นาทีหลังหัวเราะ[47].อนึ่งพบว่า เด็กที่เข้า รพ. หัวเราะและเล่นเพื่อบรรเทาความกลัว ความเจ็บปวด และความเครียด การหัวเราะและอารมณ์ขันจึงสำคัญมากเพื่อรับมือกับความเครียด[47] มนุษย์ควรใช้อารมณ์ขันเป็นวิธีข้ามความเข้าใจเบื้องต้นของตนเกี่ยวกับสถานการณ์ภายนอก เพื่อให้ได้มุมมองอื่น ๆ เพื่อลดความวิตกกังวล
  • การเปลี่ยนความคิดที่ไม่ดีให้เป็นการกระทำที่ยอมรับได้ (sublimation) ช่วยให้แก้ปัญหาโดยอ้อมโดยไม่มีผลลบหรือเสียความสุขที่พึงได้[49] วิธีนี้ช่วยให้เปลี่ยนอารมณ์หรือแรงดลใจที่เป็นปัญหาให้เป็นพฤติกรรมที่สังคมยอมรับได้
  • การคิดเรื่องดี ๆ (positive reappraisal) คือเปลี่ยนความคิดไปในสิ่งที่ดี ๆ ที่กำลังเกิดหรือยังไม่เกิด ซึ่งอาจช่วยให้พัฒนาตนเอง (personal growth) ให้สำนึกรู้จักตนเอง (self-reflection) และให้สำนึกถึงอำนาจและประโยชน์ของความพยายามของตน[50] ยกตัวอย่างเช่น งานศึกษาในทหารผ่านศึก ไม่ว่าจะเป็นผู้ผ่านสงครามหรือการรักษาสันติภาพพบว่า ผู้ที่ตีความประสบการณ์การต่อสู้หรืออันตรายในเชิงบวกมักจะปรับตัวได้ดีกว่าผู้ที่ไม่ทำเช่นนี้[51]

วิธีการรับมือแบบปรับตัวได้ดีอย่างอื่น ๆ รวมทั้งความหวัง (anticipation) ความเอื้ออาทร (altruism) และการสังเกตตนเอง (self-observation)

วิธียับยั้งใจ/ปฏิเสธไม่ยอมรับ

วิธีเหล่านี้ทำให้สำนึกน้อยลง (ในบางกรณีไม่มีเลย) ถึงความวิตกกังวล ภัยต่าง ๆ ความหวาดกลัวเป็นต้น ที่มาจากความรู้สึกว่ามีภัย

  • การเปลี่ยนความคิด (displacement) เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกเดือดร้อนไปยังสถานการณ์อื่นที่เป็นภัยน้อยกว่า[52]
  • การเก็บกดความคิด (repression) - เป็นวิธีที่บุคคลพยามยามกำจัดความคิด ความรู้สึก และอารมณ์อื่น ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ที่รู้สึกว่าเป็นภัยหรือทำให้กลุ้มใจ ไม่ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ถ้าทำอย่างนี้ได้นาน ๆ นี่ยิ่งกว่า "การปฏิเสธว่าไม่จริง" (denial) ที่เสนอโดยซิกมุนด์ ฟรอยด์
  • ปฏิกิริยาตรงกันข้าม (reaction formation) - เปลี่ยนความรู้สึก ความคิด หรือพฤติกรรมไปในทางตรงกันข้าม เช่น แทนความคิดที่ไม่ต้องการด้วยความคิดตรงกันข้าม (เช่นอาจระงับความรู้สึกรักร่วมเพศโดยเปลี่ยนเป็นเกลียดคนรักร่วมเพศทั้งหมด)[53]

วิธีอื่น ๆ รวมทั้งการแก้คืน (undoing) การแยกตัวออกจากสถานการณ์ (dissociation) การปฏิเสธว่าไม่จริง (denial) การปฏิเสธว่าตัวเองไม่เป็นโดยโทษคนอื่น (projection) และการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (rationalization)แม้นักวิชาการบางพวกจะอ้างว่า วิธีการรับมือโดยยับยั้งอาจจะเพิ่มระดับความเครียดในที่สุดเพราะไม่ได้แก้ปัญหาอะไรแต่การแยกตนเองออกจากตัวก่อความเครียดบางครั้งช่วยบรรเทาความเครียดอย่างชั่วคราว แล้วเพิ่มความพร้อมรับมือกับปัญหาในภายหลัง

วิธีที่ต้องทำการ

วิธีเหล่านี้ใช้รับมือกับความเครียดเมื่อต้องทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือถอยตัวออก

  • แสดงออกสิ่งที่ไม่ควร (acting out) คือทำสิ่งที่ไม่สมควรซึ่งสังคมพิจารณาว่าเป็นปัญหา คือ แทนที่จะพิจารณาหรือแก้ปัญหา บุคคลจะทำสิ่งที่จัดว่า เป็นการปรับตัวที่ไม่ดี[46]
  • งอน (passive aggression) คือบุคคลรับมือโดยอ้อมกับความวิตกกังวลหรือความคิด/ความรู้สึกที่ไม่ดีซึ่งมาจากความเครียด โดยทำกระฟัดกระเฟียดหรือไม่พอใจต่อผู้อื่น การบ่นแต่ปฏิเสธความช่วยเหลือก็รวมอยู่ในหมวดนี้

การเสริมสุขภาพ

มีวิธีการอื่นเพื่อรับมือกับความเครียด ทำโดยป้องกันความวิตกกังวลและความเครียดถ้าฝึกรับมือกับความเครียดทุกวัน ความรู้สึกเครียดและการรับมือกับมันโดยจัดเป็นเหตุการณ์ภายนอกก็จะรู้สึกว่าเป็นภาระน้อยลง

กลยุทธ์ที่แนะนำเพื่อปรับปรุงการแก้ความเครียดรวมทั้ง[54]

  1. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ คือวางแผนการออกกำลังกาย 3-4 ครั้งต่ออาทิตย์
  2. หาผู้ช่วยสนับสนุน เพื่อฟัง ให้คำแนะนำ และให้การสนับสนุนแก่กันและกัน
  3. บริหารเวลาที่มี - ตั้งระเบียบการใช้เวลา
  4. จินตนาการภาพตามแนะนำ เพื่อผ่อนคลายจิตใจ
  5. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามลำดับ
  6. ฝึกเพื่อสื่อสารความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ (assertiveness training)
  7. เขียนบันทึกประจำวัน เพื่อแสดงออกอารมณ์ที่แท้จริง เป็นการพิจารณาตนเอง
  8. ลดความเครียดในที่ทำงาน คือเปลี่ยนระบบการทำงาน เปลี่ยนสิ่งที่ต้องทำเพื่อลดความเครียด

วิธีเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ คือจัดว่าเป็นการปรับตัวที่ดีหรือไม่ดีก็ได้

ใกล้เคียง

ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเจ็บปวด ความเหนือกว่าเทียม ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเครียด (จิตวิทยา) ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเครียด_(จิตวิทยา) http://www.collinsdictionary.com/dictionary/englis... http://blog.ted.com/could-stress-be-good-for-you-r... http://www.ttgmice.com/article/cwt-rolls-out-solut... http://oregonstate.edu/instruct/dce/hhs231_w04/nin... http://www.cla.purdue.edu/academic/engl/theory/psy... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2568977 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3374921 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3871742 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4253863 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11392869