จิตวิทยา ของ ความเบื่อหน่าย

ความเบื่อหน่ายซึ่งได้จำกัดความโดย ซี.ดี.ฟิชเชอร์ ในพจน์ของกระบวนการจิตวิทยาส่วนกลางว่า: "สถานะอารมณ์ไม่น่าพึงพอใจอันส่งผลเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมนุษย์รู้สึกขาดความสนใจและพบความยากลำบากในการเอาใจจดจ่อกับกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน"[1] เอ็ม.อาร์.เลียรี ได้อธิบายว่าความเบื่อหน่ายเป็น "ประสบการณ์เกี่ยวกับอารมณ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการการรับรู้เกี่ยวกับความน่าสนใจ"[2] จิตวิทยาเชิงบวกได้อธิบายว่าความกังวลเป็นการตอบสนองต่อความท้าทายระดับกลางต่อประเด็นที่หนักหนาสาหัสกว่าทักษะที่มีอยู่[3] คำจำกัดความเหล่านี้ทำให้เป็นที่กระจ่างว่าความเบื่อหน่ายมิได้เกิดมาจากขาดการทำกิจกรรม แต่มาจากความไม่สามารถเข้าถึงกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้

ความเบื่อหน่ายสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับปัญหาของการรับมือความสนใจ นี่รวมไปถึงเมื่อเราถูกห้ามมิให้ความสนใจในบางสิ่งบางอย่าง เมื่อเราถูกบังคับให้สนใจกับกิจกรรมบางอย่างที่เราไม่ต้องการ หรือเมื่อเราไม่สามารถรักษาระดับความสนใจในกิจกรรมอย่างหนึ่งโดยปราศจากเหตุผล[4] ความโน้มเอียงเบื่อหน่าย (boredom proneness) เป็นความชอบที่จะได้รับประสบการณ์ความเบื่อหน่ายทุกประเภท ซึ่งประเมินได้โดยมาตรวัดความโน้มเอียงเบื่อหน่าย (Boredom Proneness Scale)[5]

จากคำจำกัดความที่ระบุไว้ข้างต้น การวิจัยสมัยใหม่ค้นพบว่าความโน้มเอียงเบื่อหน่ายได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความล้มเหลวของการให้ความสนใจอย่างชัดเจน[6] ทั้งความเบื่อหน่ายและความโน้มเอียงเบื่อหน่ายมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเศร้าใจและอาการเศร้าทั้งทางหลักวิชาและตามหลักการสังเกต[7][8][9] ถึงแม้ว่าความเบื่อหน่ายมักจะถูกมองว่าเป็นสิ่งกวนใจที่ไร้สาระและไม่รุนแรงนัก ความโน้มเอียงไปในทางเบื่อหน่ายได้เชื่อมโยงเข้ากับปัญหาจิตวิทยา กายภาพ การศึกษาและสังคมอย่างกว้างขวาง

ใกล้เคียง

ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเจ็บปวด ความเหนือกว่าเทียม ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเครียด (จิตวิทยา) ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา