ความเป็นมาของคำสยาม_ไทย,_ลาว_และขอม_และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ

ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ เป็นงานชิ้นสุดท้ายของ จิตร ภูมิศักดิ์ งานค้นคว้านี้สันนิษฐานที่มาของคำต่างๆ โดยชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของลักษณะเชื้อชาติ ลักษณะทางสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในแถบสุวรรณภูมิ ที่ปรากฏขึ้นในรูปภาษา ถือเป็นงานทางนิรุกติศาสตร์และภาษาศาสตร์สังคมที่มีความโดดเด่นอย่างมากงานค้นคว้าที่ยังเขียนไม่เสร็จนี้ จิตรใช้เวลาเขียนอยู่ประมาณ 7 ปี ในขณะที่ถูกจองจำอยู่ในคุกลาดยาว ช่วง พ.ศ. 2501-2507[1] เขาได้มอบต้นฉบับให้แก่ สุภา ศิริมานนท์ รักษาต้นฉบับไว้โดยใส่กล่องฝังดินไว้ในสวนฝั่งธนบุรี หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงมีการขุดค้นขึ้นมาตีพิมพ์ โดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ หนังสือเล่มดังกล่าวพิมพ์ครั้งแรก 5,000 เล่ม ก่อนหน้าเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ไม่นานนัก มีหนังสือตกถึงมือผู้อ่านไม่มากนักเพราะส่วนใหญ่ถูกเผาทิ้งทำลายในสมัยธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรีหนังสือนี้แบ่งเป็นสามภาค คือ พื้นฐานทางนิรุกติศาสตร์และประวัติศาสตร์, ชื่อชนชาติและฐานะทางสังคม, และ ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม ภาคที่หนึ่งและสองนี้ ต้นฉบับถูกเก็บรักษาไว้ด้วยกัน ส่วนภาคที่สามเป็นส่วนที่พบภายหลังและได้เพิ่มเข้ามาในการจัดพิมพ์ครั้งที่สามเมื่อ พ.ศ. 2535ความเป็นมาของคำสยามฯ ได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ในโครงการวิจัยซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ความเป็นมาของคำสยาม_ไทย,_ลาว_และขอม_และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ

สำนักพิมพ์ โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ประเทศ ไทย
ผู้ประพันธ์ จิตร ภูมิศักดิ์
เลขทศนิยมดิวอี 495.912 จ6ค
ISBN 9742103283
ภาษา ไทย
ชนิดสื่อ สิ่งพิมพ์
วันที่พิมพ์ พ.ศ. 2519

ใกล้เคียง

ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเจ็บปวด ความเหนือกว่าเทียม ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเครียด (จิตวิทยา) ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา