วิทยาศาสตร์กับการเมือง ของ ความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์

ในการอภิปรายทางการเมือง ผู้ที่จะได้ประโยชน์จากการออกนโยบายของรัฐมักจะใช้คำพูดว่ามีมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ในสาขาใดสาขาหนึ่ง เพื่อแสดงความสมเหตุสมผลของทฤษฎีหนึ่งที่ใช้สนับสนุนนโยบายและโดยนัยตรงกันข้ามกัน ผู้ที่พูดว่าไม่มีมติส่วนใหญ่จากนักวิทยาศาสตร์ อาจจะได้ผลประโยชน์จากนโยบายอย่างอื่นที่คลุมเครือกว่า

ยกตัวอย่างเช่น มีมติส่วนใหญ่ทางวิทยาศาสร์ว่า ผิวโลกร้อนขึ้นในช่วงทศวรรษที่เพิ่งผ่าน ๆ มา และเป็นความโน้มเอียงที่เกิดขึ้นโดยหลักเพราะการปล่อยแก๊สเรือนกระจกโดยกิจกรรมของมนุษย์[9][10][11]มีนักประวัติวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง (ดร. Naomi Oreskes) ที่เขียนบทความในวารสารวิทยาศาสตร์ Science รายงานว่า จากการสำรวจบทคัดย่อของบทความทางวิทยาศาสตร์ตีพิมพ์ระหว่าง ค.ศ. 1993-2003 ไม่พบบทความใดที่ไม่เห็นด้วยอย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับแนวคิดว่า โลกร้อนขึ้นเพราะเหตุจากมนุษย์[12]ในบทความบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ Washington Post เธอได้กล่าวว่า ผู้ที่ต่อต้านการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ กำลังเพียงแค่ขยายความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความจริงทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นความไม่แน่นอนในระดับปกติ ให้กลายเป็นเหมือนว่ามีความไม่ลงรอยกันทางวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ คือการไม่มีมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์[13]สิ่งที่เธอค้นพบ สามารถทำซ้ำได้โดยวิธีอื่นโดยที่ไม่ต้องอาศัยการตีความ[3]

ทฤษฎีวิวัฒนาการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ก็เป็นเรื่องที่สนับสนุนอย่างท่วมท้นโดยมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาตร์ เป็นทฤษฎีที่เชื่อถือได้ดีที่สุด ที่มีการทดสอบเชิงประสบการณ์มากที่สุดทฤษฎีหนึ่งในวิทยาศาสตร์[14][15]แต่ผู้ต่อต้านทฤษฎีนี้กลับอ้างว่า มีความไม่เห็นด้วยอย่างสำคัญในชุมชนนักวิทยาศาตร์[16]และมีการดำเนินงานเริ่มและพัฒนาความรู้สึกของมวลชนว่า ไม่มีมติส่วนใหญ่ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับทฤษฎีวิวัฒนาการ[17]

ความไม่แน่นอนที่เป็นธรรมชาติของวิทยาศาตร์ คือการที่ทฤษฎีไม่สามารถพิสูจน์ได้ แต่สามารถพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ เป็นปัญหาสำหรับนักการเมือง ผู้วางนโยบาย นักกฎหมาย และนักธุรกิจคือ แม้ว่าคำถามทางวิทยาศาสตร์และปรัชญาสามารถดำเนินไปกับความไม่แน่นอนได้เป็นทศวรรษ ๆ ในสาขาวิชาการหนึ่ง ๆ แต่ผู้ออกนโยบายจำต้องตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ แม้ว่าจะเป็นข้อมูลที่อาจไม่ใช่เวอร์ชั่นสุดท้ายของ "ความจริง" และสิ่งที่ยากก็คือ จะต้องกำหนดว่า อะไรใกล้ต่อความจริงเพียงพอแล้วยกตัวอย่างเช่น การดำเนินการทางสังคมต่อต้านการสูบบุหรี่จริง ๆ แล้วค่อนข้างเนิ่นช้า แม้หลังเกิดมติส่วนใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ว่ามีโทษทางสุขภาพ แล้ว[3]

ในเรื่องบางเรื่อง เช่นการอนุมัติให้ใช้เทคโนโลยีบางอย่างสำหรับมวลชน เป็นสิ่งที่อาจมีผลยาวนานทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และต่อประชากร ถ้าสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พยากรณ์ไว้ไม่ได้เป็นไปตามความคาดหมายแต่ว่า ถ้าหวังว่า นโยบายในเรื่อง ๆ หนึ่งควรจะสะท้อนข้อมูลที่มีอยู่ และสะท้อนแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีการรับรองเป็นอย่างดีที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ที่สังเกตเห็นได้ มันก็ไม่มีข้อมูลหลักฐานอื่นที่ดีกว่านอกจาก "มติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาตร์" ที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบนโยบายและการบังคับใช้ อย่างน้อยก็ในกรณีที่การออกนโยบายดูจะเป็นเรื่องจำเป็นแม้ว่า วิทยาศาสตร์จะไม่สามารถแสดงความจริงสัมบูรณ์ หรือแม้แต่ความผิดพลาดสัมบูรณ์ให้ได้ มันก็ยังมีประโยชน์ในการช่วยแนะแนวทางนโยบาย โดยมีแนวโน้มเพื่อเพิ่มประโยชน์ให้แก่สังคม และเพื่อลดความเสียหายถ้ามีทัศนคติเช่นนี้ การบังคับว่า นโยบายจำต้องอาศัยสิ่งที่พิสูจน์แล้ว เป็น "ความจริงทางวิทยาศาสตร์" เท่านั้น นี่จะเป็นเหตุนำไปสู่ความเป็นอัมพาตทางสังคม และโดยปริยาย จะเป็นการใช้นโยบายยอมรับความเสียหายและความเสี่ยง ที่เห็นได้และเห็นไม่ได้ ที่เกิดจากการไม่มีนโยบายที่อาศัยมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาตร์[3]

ไม่มีส่วนไหนของนโยบายที่สร้างขึ้นบนรากฐานมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ ที่ห้ามไม่ให้ทบทวนบ่อย ๆ ในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมติของนักวิทยาศาสตร์เอง หรือว่าผลที่เห็นได้จากการออกนโยบายจริง ๆ แล้ว เหตุผลที่ผลักดันให้อาศัยมติทางวิทยาศาสตร์ในการสร้างนโยบาย ก็จะเป็นตัวผลักดันให้มีการประเมินผลบ่อย ๆ ในกาลต่อไป และให้เกิดการปรับนโยบายถ้าจำเป็น

ใกล้เคียง

ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเจ็บปวด ความเหนือกว่าเทียม ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเครียด (จิตวิทยา) ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ http://asr.sagepub.com/content/75/6/817.full.pdf+h... http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/articles/A260... http://www.nap.edu/catalog.php?record_id=11876 http://www.nap.edu/catalog.php?record_id=12782 http://dels-old.nas.edu/dels/rpt_briefs/climate_ch... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15576594 http://www.aaas.org/news/releases/2006/pdf/0219boa... http://www.antievolution.org/features/wedge.pdf //doi.org/10.1126%2Fscience.1103618 //doi.org/10.1177%2F0003122410388488