ในงานวิจัย ของ ความเอนเอียงโดยการรายงาน

งานวิจัยสามารถเพิ่มพูนความรู้ได้ก็ต่อเมื่อผู้ทำการวิจัยสื่อผลไปยังชุมชนที่สนใจวิธีการสื่อผลหลักที่ยอมรับกันก็คือ การตีพิมพ์ผลงานที่แสดงระเบียบวิธีการศึกษา และผลการศึกษา ในบทความของวารสารทางวิทยาศาสตร์บางครั้ง นักวิจัยจะเลือกแสดงสิ่งที่พบในงานประชุมทางวิทยาศาสตร์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโดยปาฐกถา หรือจะเป็นเพียงใบปิดประกาศแสดงบทคัดย่อ (abstract)แต่สิ่งที่แสดงในงานประชุมรวมทั้งบทคัดย่ออาจจะเข้าถึงไม่ได้โดยวิธีอื่น เช่น ผ่านห้องสมุดหรือทางอินเทอร์เน็ต

บางครั้งนักวิจัยจะไม่ตีพิมพ์ผลของการศึกษาทั้งหมดดังนั้น Declaration of Helsinki[5]และระเบียบวิธีที่ได้การยอมรับอื่น ๆ ได้ร่างโครงหน้าที่ทางจริยธรรม ที่ผู้วิจัยควรจะตีพิมพ์ผลงานวิจัยทางคลินิกทั้งหมด เพื่อให้เข้าถึงได้อย่างเป็นสาธารณะ

ความเอนเอียงโดยการรายงานเกิดขึ้น เมื่อมีการเผยแพร่ผลงานวิจัย โดยขึ้นอยู่กับลักษณะและทิศทางของผลที่ได้[6] โดยเฉพาะงานวิจัยที่มีผลบวก

มีวิธีการที่ใช้หลายวิธีในอดีต เพื่อลดอิทธิพลของความเอนเอียง เช่นการปรับผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์โดยวิธีทางสถิติ[7] แต่ว่าก็ยังไม่มีวิธีที่ได้ผลดี จึงต้องยอมรับกันว่า ความเอนเอียงจะแก้ได้ก็ต่อเมื่อให้ลงทะเบียนงานวิจัยล่วงหน้า (เพื่อสามารถหาผลงานวิจัยทั้งหมดที่ทำในประเด็น) และส่งเสริมให้ใช้หลักปฏิบัติเกี่ยวกับการตีพิมพ์ที่เหมาะสมดังนั้น จนกว่าปัญหาเหล่านี้จะแก้ได้ ผลประเมินจากการรักษาพยาบาลในงานที่ตีพิมพ์อาจจะมีความเอนเอียง

ใกล้เคียง

ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเจ็บปวด ความเหนือกว่าเทียม ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเครียด (จิตวิทยา) ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเอนเอียงโดยการรายงาน http://books.google.com/books?id=s7R-MLMyEgwC&pg=P... http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid... http://www.reuters.com/article/2014/06/02/us-pfize... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0... http://www.trialsjournal.com/content/pdf/1745-6215... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11927219 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12038924 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14982913 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15451835 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15833223