คองคอร์ด
คองคอร์ด

คองคอร์ด

เครื่องบินคองคอร์ด (อังกฤษ: Concorde) เป็นเครื่องบินขนส่งชนิดมีความเร็วเหนือเสียง เป็นหนึ่งในสองแบบของเครื่องบินเร็วเหนือเสียงที่ใช้เป็นเครื่องบินโดยสาร และนำมาให้บริการในเชิงพาณิชย์ โดยใช้เวลาศึกษาวิจัยเป็นเวลา 7 ปี เครื่องคองคอร์ดต้นแบบเครื่องแรกบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1969 ทดสอบและพัฒนาอีก 4 ปี โดยคองคอร์ดเครื่องแรกออกจากสายการผลิตและเริ่มบินทดสอบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1973 รวมตั้งแต่เริ่มโครงการจนนำมาผลิตใช้เวลากว่า 13 ปีเต็มใช้เงินในการพัฒนากว่า 1,000 ล้านปอนด์ [1]เครื่องบินคองคอร์ดมีความเร็วปกติ 2,158กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเพดานบินสูงสุด 60,000 ฟุต (18.288กิโลเมตร) มีปีกสามเหลี่ยม การบินเชิงพาณิชย์ของคองคอร์ด ดำเนินการโดยบริติชแอร์เวย์ (British Airways) และแอร์ฟรานซ์ (Air France) เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1976 และสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2003 และมีเที่ยวบิน “เกษียณอายุ” เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 เที่ยวบินลอนดอน-นิวยอร์ก และปารีส-นิวยอร์ก ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 3 ชม.เครื่องบินคองคอร์ด มีข้อจำกัดในการออกแบบด้านพลศาสตร์ ซึ่งส่วนหัวของเครื่องบินจะต้องเชิดขึ้น ส่งผลให้ทัศนวิสัยของนักบินไม่ดี ผู้ออกแบบได้แก้ไขโดยเพิ่มกลไกปรับส่วนหัวของเครื่องบิน ให้กดลงมา เพื่อให้นักบินมองเห็นสนามบินขณะเครื่องบินขึ้น ลงจอด และขณะอยู่บนแทกซี่เวย์ ส่วนหัวของคองคอร์ดปรับทำมุมกดได้ 12.5°เครื่องบินคองคอร์ด มีทั้งสิ้น 20 ลำ เป็นเครื่องที่ใช้ในการพัฒนา 6 ลำ ใช้งานเชิงพาณิชย์ 14 ลำ ตก 1 ลำ

คองคอร์ด

จำนวนที่ผลิต 20 ลำ
บินครั้งแรก 2 มีนาคม พ.ศ. 2512
ปลดประจำการ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546
สถานะ ปลดประจำการแล้ว
บริษัทผู้ผลิต บีเอซี (ภายหลัง บีเออี และ บีเออี ซิสเต็มส์)
ซูว์ดาวียาซียง (ภายหลัง อาเอร็อสปาซียาล และ แอร์บัส)
ชาติกำเนิด สหราชอาณาจักร และ ฝรั่งเศส
ช่วงการผลิต พ.ศ. 2508–พ.ศ. 2522
เริ่มใช้ 21 มกราคม พ.ศ. 2519
บทบาท เครื่องบินความเร็วเหนือเสียง
มูลค่า 33.8 ล้านเหรียญสหรัฐ พ.ศ. 2515 (151 ล้านดอลลาร์ในปี 2559)23 ล้านปอนด์ในปี พ.ศ. 2520 (119 ล้านปอนด์ในปี 2560)
ผู้ใช้งานหลัก บริติชแอร์เวย์
แอร์ฟรานซ์