การรักษา ของ คอหอยอักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส

การเจ็บคอสเตรปโธรทที่ไม่ได้รับการรักษามักหายไปเองภายในเวลาไม่กี่วัน [3] การรักษาด้วยยา (ปฏิชีวนะ) สามารถช่วยลดระยะเวลาการเกิดอาการได้ประมาณ 16 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย [3] เหตุผลหลักในการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะคือเพื่อลดความเสี่ยงของความเจ็บป่วยที่ร้ายแรงมากขึ้น เช่น มีไข้รุนแรง (ที่รู้จักในชื่อว่า ไข้รูมาติก) หรือการสะสมของหนองในลำคอ (ที่เรียกว่า ฝีหลังคอหอย [retropharyngeal abscesses])[3]. ยาเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพดีหากได้รับยาภายใน 9 วันนับจากการเริ่มต้นของอาการเหล่า[6]

ยาแก้ปวด

ยาบรรเทาปวด เช่น ยาลดอาการบวม (ยาต้านการอักเสบหรือ NSAID ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยาลดไข้ (พาราเซตามอล หรือ อะเซตามิโนเฟน [acetaminophen])สามารถช่วยลดความเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บคอสเตรปโธรทได้[14] ทั้งนี้ยาสเตียรอยด์ต่างๆ นั้นก็มีประโยชน์เช่นกัน[6][15] ซึ่งอยู่ในรูปครีมหรือขี้ผึ้งที่ชื่อลิโดเคน (lidocaine)[16] ในผู้ใหญ่อาจใช้แอสไพรินได้ แต่ไม่แนะนำการใช้ในเด็กเพราะยานี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการพัฒนาของโรคที่คุกคามชีวิตที่มีชื่อเรียกว่ากลุ่มอาการราย (Reye's syndrome) [6]

ยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเลือกใช้สำหรับการรักษาการเจ็บคอสเตรปโธรทคือยาเพนนิซิลลิน-วี (penicillin V) ยาปฏิชีวนะตัวนี้เป็นที่นิยมเนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายและประสิทธิผลของยาดังกล่าว [3] ส่วนยาที่ประเทศในยุโรปเลือกใช้คือยาอะม็อกซีซิลลิน (amoxicillin) [17] ในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงในการพัฒนาของไข้รูมาติกสูง ทางเลือกอันดับแรกในการรักษาได้แก่ยาฉีดที่ชื่อว่าเบนซาทีนเพนิซิลลิน-จี (benzathine penicillin G) [6] ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมสามารถลดระยะเวลาเฉลี่ย (ซึ่งเป็นเวลา 3-5 วัน) ของอาการลงได้ประมาณวันหนึ่ง และยาเหล่านี้ยังช่วยลดการแพร่กระจายของโรคได้อีกด้วย [9] ยาที่แพทย์สั่งส่วนใหญ่ใช้เพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อย เช่น การมีไข้ที่รุนแรง ผื่นผิวหนังหรือการติดเชื้อต่างๆ[18] ผลประโยชน์จากการรักษาการเจ็บคอสเตรปโธรทด้วยยาปฏิชีวนะควรต้องมีความสมดุลกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ [5]. ยาปฏิชีวนะนั้นไม่จำเป็นต้องให้แก่ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีที่มีปฏิกิริยาเชิงลบต่อยา [18] ยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งจ่ายสำหรับการเจ็บคอสเตรปโธรทเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราที่มีการคาดหมายสำหรับความรุนแรงและอัตราการแพร่กระจายของโรค[19] ยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin)(และยาอื่นๆ ที่ชื่อว่า แมคโครีด [macrolides]) ได้รับการแนะนำสำหรับผู้ที่แพ้ยาเพนิซิลลินขั้นรุนแรง[3] ขั้นแรก อาจใช้การรักษาด้วยกลุ่มยาที่ชื่อว่าเซฟาโลสปอริน (cephalosporins) ในกลุ่มของผู้มีอาการแพ้ที่รุนแรงน้อยกว่า[3] การติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัสยังสามารถนำไปสู่ภาวะไตบวมได้ ทั้งนี้ยาปฏิชีวนะจะไม่ช่วยลดโอกาสของภาวะนี้ [6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: คอหอยอักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส http://www.diseasesdatabase.com/ddb12507.htm http://www.emedicine.com/med/topic1811.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=034.... http://www.medicinenet.com/lidocaine_viscous/artic... http://www.mercksource.com/pp/us/cns/cns_hl_dorlan... http://www.utdol.com/online/content/topic.do?topic... http://www3.interscience.wiley.com/journal/1233722... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11127175 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11255529 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11327431