งานและอิทธิพล ของ คัตสึชิกะ_โฮกูไซ

“Hodogaya on the Tokaido”“ควันลอยออกจากภูเขาฟูจิ”“ปลาตะเพียนกระโดดในน้ำตก”“ภาพเหมือนสตรีถือพัด”

โฮกูไซเป็นจิตรกรอยู่เป็นเวลานานแต่งานชิ้นสำคัญ ๆ เขียนหลังจากที่อายุ 60 แล้ว งานที่มีชื่อเสียงที่สุดชุด “ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ” เขียนระหว่าง ค.ศ. 1826 ถึง ค.ศ. 1833 ที่อันที่จริงแล้วมีด้วยกันทั้งหมด 46 ภาพ (10 ภาพเป็นภาพที่มาเขียนเพิ่มภายหลัง)[4] งานเขียนภาพอูกิโยะของโฮกูไซเปลี่ยนแปลงจากการเขียนภาพของสตรีในราชสำนักและนักแสดงที่เป็นที่นิยมกันในสมัยเอโดะ มาเป็นการเขียนที่กว้างขึ้นที่รวมภูมิทัศน์, ต้นไม้ และสัตว์เข้าไปด้วย[7]

ทั้งการเลือก “ชื่อ” และการเขียนภาพภูเขาฟูจิมาจากความเชื่อทางศาสนา ชื่อโฮกูไซที่แปลว่า “ห้องเขียนภาพเหนือ” ซึ่งเป็นคำย่อของ “Hokushinsai” (北辰際)หรือ “ห้องเขียนภาพดาวเหนือ” โฮกูไซนับถือ Nichiren ซึ่งเป็นลัทธิหนึ่งของพุทธศาสนาที่เห็นว่าดาวเหนือ เกี่ยวข้องกับ Myōken (妙見菩薩)[4] ภูเขาฟูจิตามธรรมเนียมแล้วมีความเชื่อมโยงกับความเป็นอมตะ ความเชื่อนี้ย้อนหลังไปถึงเรื่อง “ตำนานคนตัดไผ่” (竹取物語?) ของคริสต์ศตวรรษที่ 10 ที่เล่ากันว่าเป็นที่พระจักรพรรดินำยาอายุวัฒนะไปไว้บนยอดเขา เฮนรี สมิธอธิบายว่า “ฉะนั้นตั้งแต่โบราณกาลเป็นต้นมาภูเขาฟูจิจึงถือกันว่าเป็นแหล่งของความลับของความเป็นอมตะ ซึ่งเป็นหัวใจของความผูกพันอันล้ำลึกของโฮกูไซกับภูเขา”[3]

งานชิ้นใหญ่ที่สุดของโฮกูไซคืองานเขียน “โฮกูไซ มังงะ” (北斎漫画) ที่มีด้วยกันทั้งหมด 15 เล่มที่ประกอบด้วยภาพราว 4,000 ภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1814[4] งานมังงะของโฮกูไซมักจะเข้าใจผิดกันว่าเป็นที่มาของมังงะสมัยใหม่ แต่มังงะของโฮกูไซเป็นภาพวาดชุด (ของสัตว์, คน, สิ่งของ หรืออื่น ๆ) ซึ่งต่างจากหนังสือคอมมิคที่เป็นเรื่องราว[4]

อิทธิพลทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม

โฮกูไซเป็นแรงบันดาลใจให้แก่งานรวมเรื่องสั้น “24 มุมของภูเขาฟูจิโดยโฮกูไซ” ที่ได้รับรางวัลฮิวโกโดยนักเขียนนวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์โรเจอร์ เซลาซนี ในเรื่องนี้ตัวเอกของเรื่องเดินทางรอบบริเวณภูเขาฟูจิและทุกที่ที่หยุดเป็นที่เดียวกับที่โฮกูไซเขียนภาพ

อิทธิพลของโฮกูไซมีต่อจิตกรร่วมสมัยของยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่กำลังนิยมแนวเขียนใหม่ที่เรียกว่าอาร์ตนูโวหรือที่เรียกว่า “Jugendstil” ในเยอรมนีที่ได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของโฮกูไซและศิลปะญี่ปุ่นโดยทั่วไป และเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ ที่จะเห็นได้จากงานเขียนในหัวข้อที่คล้ายคลึงกันกับโฮกูไซในงานเขียนของโคลด โมเนท์ และ ปีแยร์-ออกุสต์ เรอนัวร์ นอกจากนั้นก็ยังจะเห็นได้ในงานเขียน “Peitschenhieb” ของแฮร์มัน โอบริสท์ซึ่งเป็นแนวการเขียนใหม่ที่มีอิทธิพลโดยตรงจากงานเขียนของโฮกูไซอย่างเห็นได้ชัด

งานเขียนบางชิ้น

งานเขียนในรายการข้างล่างเรียงตามลำดับเวลาที่เขียน งานเขียนแต่ละชิ้นได้รับการกล่าวถึงหรือใช้เป็นภาพประกอบในงานชีวประวัติชิ้นหนึ่งชิ้นใด ที่อาจจะเป็นงานที่ถือว่าเป็นงานชิ้นเด่นหรืองานที่เป็นตัวแทนของแต่สมัยการเขียนของโฮกูไซ[15]

  • “Lady and Attendants” (c. 1779) ภาพเขียนบนไหม
  • “Asakusa Shrine, Edo” (c. 1780) ภาพพิมพ์แกะไม้
  • “Four Courtesans of the House of Chojiya” (1782) ภาพพิมพ์แกะไม้
  • “Seyawa Kikujuro Acting Woman's Part” (1783) ภาพพิมพ์แกะไม้
  • “Actor Danjurō” (1784) ภาพพิมพ์แกะไม้
  • “Chinese Boys at Play” (1789) ภาพพิมพ์แกะไม้
  • “Attack on Moranoa's Castle from Chusingura” (1789–1806) ภาพพิมพ์แกะไม้[16]
  • “A Ferryboat with Passengers Bearing New Year's Gifts” (c. 1800) Surinomo
  • “Portrait of the Artist from The Tactics of General Oven” (1800) ภาพพิมพ์แกะไม้ประกอบนวนิยาย
  • “Amusements of the Eastern Capital” (1800–1802) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • “Shower at Shin-Yangi Bridge from Both Banks of the Sumida River” (1803) ภาพพิมพ์แกะไม้ในหนังสือตำรา
  • สถานี 53 สถานีบนเส้นทางโตไกโดะ” (1806) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • “Chinese Tortures from Bakin's Cruelties of Dobki” (1807) ภาพพิมพ์แกะไม้ in novel
  • “Quick Lessons on Simplified Drawing” (1812) ภาพเขียนในหนังสือตำรา
  • โฮกูไซ มังงะ” (1814–1834) ภาพร่าง, 15 เล่ม
  • ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ” (1823–1829) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • “Painting in Three Forms” (1816) ภาพเขียนในหนังสือตำรา
  • ความฝันของเมียคนหาปลา” (1820) Famous erotic wood block print
  • “Designs with a single stroke of the brush” (1823) ภาพเขียนในหนังสือตำรา
  • “การเที่ยวชมน้ำตกในจังหวัดต่าง ๆ” (1827–1830) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้ น้ำตก
  • “ทัศนียภาพที่แตกต่างของสะพานอันงดงามของจังหวัดต่าง ๆ” (1827–1830) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • “Small Flowers” (1830) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • “Large Flowers (Hokusai) ” (1830) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • มหาสมุทรแห่งปัญญา” (1833) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • ทัศนียภาพ 100 มุมของภูเขาฟูจิ” (1834)
  • “Book of Warriors” (1836) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • “ภาพเหมือนตนเอง” (1839) ภาพวาดลายเส้น
  • “Willow and Young Crows” (1842) ภาพเขียนบนไหม
  • “A Wood Gatherer” (1849) ภาพเขียนบนไหม

แหล่งที่มา

WikiPedia: คัตสึชิกะ_โฮกูไซ http://www.book-navi.com/hokusai/hokusai-e.html http://www.book-navi.com/hokusai/link-e.html http://visipix.dynalias.com/search/search.php?q=ho... http://www.hokusai-drawings.com/ http://www.spideronthefloor.com/jordan http://www.touchandturn.com/hokusai/default.asp?la... http://www.csuchico.edu/art/contrapposto/contrappo... http://digitalmuseum.rekibun.or.jp/app/selected/ed... http://lambiek.net/artists/h/hokusai.htm http://web.archive.org/web/20021108104201/http://w...