คาร์ดิแอกไกลโคไซด์
คาร์ดิแอกไกลโคไซด์

คาร์ดิแอกไกลโคไซด์

คาร์ดิแอกไกลโคไซด์ (อังกฤษ: Cardiac Glycoside) เป็นสารในกลุ่มสเตอรอยด์ไกลโคไซด์จากธรรมชาติ มักพบในเมตาบอลึซึมขั้นที่สองของพืชหรือเป็นสารอินทรีย์ทุติยภูมิ[1] โครงสร้างโดยทั่วไปประกอบด้วยสองส่วน คือส่วนอะไกลโคนที่มีคาร์บอนเป็นองคร์ประกอบทั้ง 23 อะตอมที่เรียกว่าคาร์ดีโนไลด์ (Cardinolide) และ 24 อะตอม เรียกว่าบูฟาดีอีโนไลด์ (Bufanolide) และส่วนน้ำตาลที่มีตำแหน่งพันธะและโครงสร้างแตกต่างกันไปในหลายรูปแบบ[2]คาร์ดิแอกไกลโคไซด์ช่วยออกฤทธิ์ต่อการเพิ่มแรงบีบของหัวใจ[3] ทำให้มี cardiac output ดีขึ้นในผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย และลดอาการบวมน้ำลงได้ ทั้งนี้ต้องมีการควบคุมปริมาณยาในเลือดอย่างใกล้ชิด เนื่องจากระดับยาที่ต่ำที่สุดที่ให้ผลทางการรักษามีความใกล้เคียงกับระดับต่ำสุดที่ทำให้เกิดพิษอย่างมาก อาจส่งผลต่อการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจหรือหยุดเต้นได้คาร์ดิแอกไกลด์โคไซด์สามารถตรวจสอบได้โดยใช้วิธีการของ Liebermann-Burchard test[4] และพบได้ทั่วไปในธรรมชาติโดยเฉพาะในวงศ์สำคัญคือวงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) และวงศ์นมตำเลีย (Asclepiadaceae) ตัวอย่างพืชที่มีสารกลุ่มนี้เป็นองค์ประกอบในประเทศไทยได้แก่ แย้มปีนัง, รำเพย, ยี่โถ, รัก เป็นต้น