ลักษณะ ของ คาโรชิ

ในบทความขององค์การแรงงานสากลมียกตัวอย่างกรณีของคาโรชิที่พบได้ทั่วไปอยู่สี่กรณี คือ[7] นาย ก เป็นลูกจ้างในบริษัทแปรรูปขนมขนาดใหญ่ ทำงานยาวนานถึง 110 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน สิริอายุ 34 ปี, นาย ข เป็นพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ทำงานสะสม 3,000 ชั่วโมงต่อปี และไม่ได้หยุดงานในรอบ 15 วัน ก่อนที่จะเสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตกฉับพลัน สิริอายุ 37 ปี, นาย ค เป็นลูกจ้างในบริษัทสิ่งพิมพ์ขนาดใหญ่ในโตเกียว ทำงานสะสม 4,320 ชั่วโมงต่อปี (รวมการทำงานนอกเวลาในตอนกลางคืน) เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตกฉับพลัน สิริอายุ 58 ปี ภรรยาได้รับเงินชดเชยใน 14 ปีหลังนาย ค เสียชีวิต และ นาย ง เป็นพยาบาลวิชาชีพ เสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันหลังทำงานอยู่เวร 34 ชั่วโมงต่อกันเป็นเวลา 5 ครั้งในเดือนนั้น สิริอายุ 22 ปี

นอกจากนี้ ปัญหาความเครียดยังมีส่วนสำคัญในการก่อคาโรชิ[8][9] รายงานของ ILO ได้ระบุรายการปัญหาความเครียดจากที่ทำงานที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายของลูกจ้างไว้ ได้แก่ การทำงานข้ามคืน ทำงานตอนดึกดื่น ทำงานแม้ในวันหยุด โดยเฉพาะในยุค "ทศวรรษที่สูญหาย" ของญี่ปุ่น ฟองสบู่แตก บริษัทจ้างงานลดลง ภาระงานต่อหัวจึงเพิ่มขึ้นตาม, ความเครียดสะสมจากความหงุดหงิดใจที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของบริษัทได้, การบังคับลาออก (แม้แต่ลูกจ้างที่ทำงานมานานและถูกมองว่า "ซื่อสัตย์" ต่อบริษัท) การถูกปฏิเสธ หรือ การกลั่นแกล้ง เป็นต้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: คาโรชิ http://www.economist.com/world/asia/displaystory.c... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34011457 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8204267 http://www.koreatimes.co.kr/www/culture/2017/02/64... http://www.index.go.kr/potal/main/EachDtlPageDetai... //doi.org/10.1016%2Fj.envint.2021.106595 //doi.org/10.1080%2F10957960490265782 http://www.ilo.org/safework/info/publications/WCMS... //www.jstor.org/stable/40342456 http://www.workhealth.org/whatsnew/lpkarosh.html