ในประเทศอื่น ของ คาโรชิ

ปรากฏการณ์การเสียชีวิตจากการทำงานมากเกินยังพบแพร่หลายในพื้นที่อื่น ๆ ของเอเชีย มีรายงานการเสียชีวิต 745,194 กรณีที่สามารถย้อนเหตุมาจากการทำงานมากเกิน ในรายงานของ WHO/ILO ในปี ค.ศ. 2016[10]

จีน

ในจีน แนวคิด "การเสียชีวิตจากการทำงานหนัก" เรียกว่า กั้วเหลาสื่อ (จีนตัวย่อ: 过劳死; จีนตัวเต็ม: 過勞死; พินอิน: Guò láo sǐ)[11]ทั้งในจีนและประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย นักธุรกิจหลายคนทำงานยาวนานภายใต้ความกดดันของการจ้องขยับขยายเส้นสายและเพื่อให้คนในเส้นสายพอใจ ระบบเส้นสายนี้เรียกว่ากวงสี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากในระบบธุรกิจของประเทศจีน[12] แรงกดดันจากระบบกวงสีให้ตั้งใจทำงานมีผลให้เกิดกั้วเหลาสี่ตามมา นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันให้นักธุรกิจในการต้องดื่มหนักและไปสถานบันเทิงยามค่ำคืนทุก ๆ คืนเหมือนกัน[13] เพื่อยืนยันและสร้าง "ความมีชีวิตชีวา" ให้กับลูกจ้างคนอื่น ๆ[14]

เกาหลีใต้

ในเกาหลีใต้มีคำเรียกว่า ควาโรซา (เกาหลี: 과로사; ฮันจา: 過勞死; อาร์อาร์: gwarosa; เอ็มอาร์: kwarosa) สำหรับเรียกการเสียชีวอนจากการทำงานหนัก เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีชั่วโมงทำงานยาวที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มากกว่าญี่ปุ่น โดยอยู่ที่ 42 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย[15] ปัญหานี้มีมายาวนาน แต่เพิ่งมาได้รับความสนใจจากสื่อหลังมีการเสียชีวิตแบบควาโรซาในลูกจ้างของหน่วยงานรัฐบาล[16] ในปี ค.ศ. 2018 รัฐบาลเกาหลีได้ผ่านกฎหมายลดชั่วโมงการทำงานสูงสุดลงจาก 68 เหลือ 52 ชั่วโมง[17]

แหล่งที่มา

WikiPedia: คาโรชิ http://www.economist.com/world/asia/displaystory.c... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34011457 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8204267 http://www.koreatimes.co.kr/www/culture/2017/02/64... http://www.index.go.kr/potal/main/EachDtlPageDetai... //doi.org/10.1016%2Fj.envint.2021.106595 //doi.org/10.1080%2F10957960490265782 http://www.ilo.org/safework/info/publications/WCMS... //www.jstor.org/stable/40342456 http://www.workhealth.org/whatsnew/lpkarosh.html