การแบ่งกลุ่มชาวคำตี่ ของ คำตี่

คำตี่ในพม่า (คำตี่หลวง)

ประวัติคำตี่ในคำตี่หลวงผู้ปกครองของคำตี่ คือ ปู่โถมถงม่าตุ๊ง ผู้ซึ่งลูกสาวถูกเสือห่มฟ้าลักพาตัวไป ดดยทำอุบายใช้ปู่โถมถงม่าตุ๊งไปธุระที่เมืองมะนุ่น หลังจากปู่โถมถงม่าตุ๊งกลับมา เสือห่มฟ้าจึงตั้งให้เป็นเจ้าเมืองคำตี่ แต่ชาวเมืองไม่ได้ถือปู่โถมถงม่าตุ๊งเป็นบรรพบุรุษของตนแต่อย่างใด ในคำสาบานศาลกล่าวไม่มีชื่อปู่โถมถงม่าตุ๊ง แต่ออกชื่อเจ้าสามองค์ คือ เจ้าสามหลวง เจ้าหัวแสง และเจ้าข้างใต้ สำหรับเจ้าสามหลวงนั้น ตามตำนานเล่าว่า เป็นเจ้าฟ้าปกครองเมืองคำตี่หลวง มีบุญญาธิการมาก ถึงขนาดที่เมื่อร้องต่อฟ้าขอให้ช่องเขาหลอยคอม้าถล่มลงมาปิดทางไม่ให้พวกทิเบต มารุกราน ช่องเขานั้นก็ถล่มมาปิดสมดังอธิษฐานการปกครองในปูตาโอในเมืองปูตาโอแบ่งออกเป็น 8 เขตปกครอง ของเจ้าฟ้าไท จึงมีเจ้าฟ้าไท 8 คนด้วยกัน แต่ละคนจะมีหน้าที่รักษาความสงบ เก็บภาษี ดูแลสาธารณสุข และอำนวยความสะดวกต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลาง เจ้าฟ้าเหล่านี้ขึ้นต่อรองผู้ว่าราชกาชจังหวัดมิตจินาคัมภีร์ปู่สอนหลาน และตำนานเมืองคำตี่หนังสือปู่สอนหลานมีตั้งแต่เดิม ส่วนตำนานคำตี่แต่งขึ้นมาทีหลัง และมาได้อิทธิพลพม่าทีหลัง แต่ในภาษาเขียนมีอิทธิพลพม่าน้อยกว่าภาษาพูด ทำให้เห็นว่าไวยากรณ์ที่คล้ายคลึงพม่าอาจจะมาจากภาษาทิเบตก็เป็นได้ เพราะตามตำนานเมืองคำตี่กล่าวว่า เคยมีเจ้าชายทิเบตนำไพร่พลมา 500 คน มาตั้งถิ่นฐานที่คำตี่ และภาษาทิเบตอยู่ในกลุ่มภาษาซิโน-ทิเบตัน เช่นเดียวกันกับภาษาพม่า มีไวยากรณ์คล้ายคลึงกัน จึงอาจทำให้ภาษาไทคำตี่มีส่วนคล้ายคลึงกับภาษาพม่าวัฒนธรรมชาวคำตี่ มีขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายคลึงกับ ชาวไทคำตี่ในรัฐอัสสัม และคล้ายคลึงกับชาวไทถิ่นต่างต่างๆ เช่า ไทคำยัง ไทพ่าเก และไทเหนือ เป็นต้น

คำตี่ในอินเดีย (สิงคะลิงคำตี่)

ประวัติชาวคำตี่ในอัสสัมชาวคำตี่ในอัสสัม มีถิ่นเดิมอยู่ที่คำตี่หลวง ตอนเหนือของแม่น้ำอิรวดี ประเทศพม่าในปัจุจบัน สมัยพระเจ้าอลองพญา ดินแดนไทตอนเหนือถูกแยกไว้หลายส่วน ไทคำตี่จำนวนมากข้ามช่องเขาปาดไก่อพยพมาในอัสสัม ต่อมาในปี พ.ศ. 2336 ชาวคำตี่ได้ร่วมมือกับชาวกะชีนยึดอำนาจ เมืองซอดิยา ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองแทน หากต่อยังสวามิภักษ์ต่อกษัตริย์อาหมเช่นเดียวกับเจ้าเมืองซอดิยาเดิม ครั้นอังกฤษยึดอัสสัมได้ไม่นานนัก ชาวคำตี่กับอังกฤษก็ขัดแย้งจนเกิดการปะทะกัน ทำให้พันเอกไวท์ ผู้บังคับการของอังกฤษเสียชีวิต อังกฤษจึงแยกคนไทออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งอยู่ที่เดิม คือ จ้องคำ เมืองซอดิยา อีกส่วนอยู่ที่หม่านทิกรอง เมืองลัคคิมปุระเหนือ ซึ่งกันดารจนได้ชื่อว่าเกาะอันดามันแห่งที่สอง แต่เป็นกลุ่มพูดภาษาไทกลุ่มใหญ่ ที่เฉพาะใน ตำบลนายณปุระ ก็มีจำนวนรวมกันนับพันหลังคาเรือน และยังมีหมู่บ้านไทที่ใกล้หม่านทิกรองอีกมากหนังสือปู่สอนหลานในอัสสัมปู่สอนหลาน เป็นหนังสือไทเก่าแก่รวบรวมถ้อยคำมีคติน่ายึดถือโบราณเอาไว้ เช่น "มีลูกไม่รู้จักสอน ก็จะฉลาดแกมโกง หลอกลวงคนอื่น มีวัวควายไม่รู้จักเลี้ยง มันจะตายสิ้น มีเมียไม่รู้จักรัก ก็จะพรากจากกัน" "เรารักคนอื่น คนอื่นจะรักเรา สนใจคนอื่น คนอื่นจะยินดี"วัฒนธรรม ประเพณี และการละเล่นของคำตี่เด็กๆที่หม่านทิกรองมีการละเล่นคล้ายของไทย เช่น การเล่นสะบ้า ไล่จับ เล่นไพ่ เล่นลิงชิงหลัก งูกินหาง เป็นต้น ชาวคำตี่จะให้ความสำคัญเรื่องขวัญมาก มีประเพณีการทำขวัญต่างๆ ทั้งในโอกาสต่างๆ เช่น การทำขวัญข้าว การเรียกขวัญเมื่อคนเจ็บป่วย การทำขวัญเมื่อโกนผมไฟเด็กอ่อน ยังมีประเพณีเจรจากับผีเมื่อเด็กคลอดเหมือนของไทยเรา แต่ชาวคำตี่จะพูดหลังอาบน้ำให้เด็กเสร็จ ยังไม่ทันใส่เสื้อผ้า โดยพูดว่า "สามวันลูกผี สี่วันลูกคน ลูกใครเอาก็เอาแล้ว ห่มเสื้อห่มผ้าแล้วเอาไปไม่ได้

คำตี่ในไทย

ชาวคำตี่ในไทยนั้นก็อพยพมาจากทางฝั่งพม่าเข้ามาทางฝั่งไทยและตั้งรกรากถิ่นฐานในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน และที่ชาวคำตี่อพยพมาทางฝั่งไทยเนื่องจากสภาพทางการเมืองของพม่าที่ผันผวน