ศาสนา ของ คำตี่

ชาวคำตี่ส่วนใหญ่จะเป็นพุทธศาสนิกชนนับถือศาสนาพุทธ และถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทุกบ้านจะมีห้องพระทุกเช้าและเย็นจะมีการสวดมนต์ ซึ่งชาวคำตี่จะเรียกว่า "ไปพระ" เกือบทุกหมู่บ้านของชาวคำตี่จะมีวัด หรือ จอง มีศาลาปฏิบัติธรรมมีกุฏิที่พักสำหรับพระสงฆ์ สามเณร และแม่ชี ชาวคำตี่จะเรียกพระว่า "เจ้ามูล" เรียกเณรว่า "เจ้าซ่าง" และเรียกแม่ชีว่า "แม่ย่าชี" ชาวคำตี่นิยมนำบุตรหลานบวชเรียนตั้งแต่อายุ 9 ขวบ เพื่อศึกษาคัมภีร์ทางพุทธศาสนาในแตกฉาน สามารถอ่านเทศน์ หรือสวดเป็นภาษาบาลีได้ ด้วยถือว่าวัดเป็นศูนย์กลางในการทำพิธีกรรม ประเพณี วัฒนธรรม และการเรียนรู้ พระจึงมีบทบาท และทำหน้าที่อย่างแท้จริง แต่ละรูปจะได้รับการฝึกฝนมายาวนาน ชาวคำตี่ในพม่าส่วนใหญ่จะนับถือพุทธศาสนา 99% ศาสนาดั้งเดิม-ผีสางนางไม้ 0.9% และศาสนาคริสต์ 0.1% ส่วนชาวคำตี่ในอินเดียนั้นนับถือพุทธศาสนา 66.64% ศาสนาฮินดู 24.59% และศาสนาคริสต์ 7.72%

ภาษาไหล-เกยัน
ภาษากัม-ไท
กลุ่มภาษากัม-ไท > กลุ่มภาษาไท
กลุ่มเชียงแสน
กลุ่มลาว-ผู้ไท
กลุ่มไทพายัพ
กลุ่มอื่น ๆ
ภาษาไท (อื่น ๆ)
กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศพม่า
กะฉิ่น (12)
กะยา (9)
กะเหรี่ยง (11)
ชิน (53)
พม่า (9)
มอญ (1)
ยะไข่ (7)
ชาน (33)
อื่น ๆ
ชมกลุ่มหลัก
ชนกลุ่มน้อย
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล