โรฮีนจา
โรฮีนจา

โรฮีนจา

โรฮีนจา[20] (พม่า: ရိုဟင်ဂျာ /ɹòhɪ̀ɴd͡ʑà/ โหร่หิ่งจ่า; โรฮีนจา: Ruáingga /ɾuájŋɡa/ รูไอง์กา; เบงกอล: রোহিঙ্গা, Rohingga) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ (อาระกัน) ทางตะวันตกของประเทศพม่า และพูดภาษาโรฮีนจา[21][22] ชาวโรฮีนจาและนักวิชาการบางส่วนกล่าวว่า โรฮีนจาเป็นชนพื้นเมืองในพื้นที่รัฐยะไข่ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนอ้างว่า พวกเขาอพยพเข้าพม่าจากเบงกอลในสมัยการปกครองของสหราชอาณาจักรเป็นหลัก[23][24][25] และนักประวัติศาสตร์ส่วนน้อยกล่าวว่า พวกเขาอพยพมาหลังจากพม่าได้รับเอกราชในปี 2491 และหลังจากบังกลาเทศทำสงครามประกาศเอกราชในปี 2514[26][27][28][29][30]ชาวมุสลิมตั้งถิ่นฐานในรัฐยะไข่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ไม่สามารถประมาณจำนวนผู้ตั้งถิ่นฐานชาวมุสลิมก่อนการปกครองของสหราชอาณาจักรได้อย่างแม่นยำ[31] หลังสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่งในปี 2369 สหราชอาณาจักรผนวกรัฐยะไข่และสนับสนุนให้มีการย้ายถิ่นจากเบงกอลเพื่อทำงานเป็นผู้ใช้แรงงานในไร่นา ประชากรมุสลิมอาจมีจำนวนถึงร้อยละ 5 ของประชากรรัฐยะไข่แล้วเมื่อถึงปี 2412 แต่จากการประเมินของปีก่อนหน้าก็พบว่ามีจำนวนสูงกว่านี้ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ความรุนแรงระหว่างชุมชนก็ปะทุขึ้นระหว่างชาวยะไข่ซึ่งนับถือศาสนาพุทธกับหน่วยกำลังวี (V-Force) ชาวโรฮีนจาที่สหราชอาณาจักรติดอาวุธให้ และการแบ่งขั้วก็รุนแรงมากขึ้นในพื้นที่[32] ในปี 2525 รัฐบาลพลเอกเนวีนตรากฎหมายความเป็นพลเมืองซึ่งปฏิเสธความเป็นพลเมืองของชาวโรฮีนจา[30][24]ในปี 2556 มีชาวโรฮีนจาประมาณ 735,000 คนอาศัยอยู่ในประเทศพม่า[29] ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองทางเหนือของรัฐยะไข่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80–98 ของประชากร[30] สื่อระหว่างประเทศและองค์การสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าชาวโรฮีนจาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหงที่สุดกลุ่มหนึ่งในโลก[33][34][35] ชาวโรฮีนจาจำนวนมากหนีไปอยู่ในย่านชนกลุ่มน้อยและค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังกลาเทศ รวมทั้งพื้นที่ตามชายแดนไทย–พม่า ชาวโรฮีนจากว่า 100,000 คนยังอาศัยอยู่ในค่ายสำหรับผู้พลัดถิ่นในประเทศซึ่งทางการไม่อนุญาตให้ออกมา[36][37] ชาวโรฮีนจาได้รับความสนใจจากนานาชาติในห้วงเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555

โรฮีนจา

ซาอุดีอาระเบีย 190,000 (มกราคม 2560)[5]
อินโดนีเซีย 1,000 (ตุลาคม 2560)[9]
สหรัฐ 12,000+ (กันยายน 2560)[8]
พม่า (รัฐยะไข่) ~400,000 (พฤศจิกายน 2560)[3]
มาเลเซีย 150,000 (ตุลาคม 2560)[4]
ปากีสถาน 350,000 (ตุลาคม 2560)[4]
ออสเตรเลีย 3,000 (ตุลาคม 2561)[10]
ไอร์แลนด์ 107 (ธันวาคม 2560)[15]
ศรีลังกา 36 (มิถุนายน 2560)[16]
ฟินแลนด์ 11 (ตุลาคม 2562)[17]
บังกลาเทศ 1,300,000+ (มีนาคม 2561)[2]
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 50,000 (ธันวาคม 2560)[4]
ญี่ปุ่น 300 (พฤษภาคม 2561)[12]
อินเดีย 40,000 (กันยายน 2560)[6][7]
ไทย 5,000 (ตุลาคม 2560)[9]
จีน 3,000 (ตุลาคม 2557)[11]
เนปาล 200 (กันยายน 2560)[13]
แคนาดา 200 (กันยายน 2560)[14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรฮีนจา http://www.cbc.ca/radio/thecurrent/the-current-for... http://www.aljazeera.com/news/2017/08/india-plans-... http://www.bangkokpost.com/breakingnews/135943/pm-... http://www.dhakatribune.com/bangladesh/2017/10/01/... http://www.dhakatribune.com/bangladesh/2017/11/08/... http://www.economist.com/news/leaders/21565624-roh... http://www.ethnologue.com/language/rhg http://www.foxnews.com/us/2013/11/06/us-holocaust-... http://www.google.com/hostednews/afp/article/ALeqM... http://www.mmtimes.com/index.php/national-news/737...