คำสาปฟาโรห์

คำสาปฟาโรห์ เป็นคำสาปที่กล่าวอ้างกันว่า ส่งผลต่อบุคคลใดก็ตามที่รบกวนมัมมี่ของชาวอียิปต์โบราณ โดยเฉพาะพระศพฟาโรห์ คำสาปนี้ไม่แยกแยะว่า ผู้รบกวนนั้นจะเป็นโจรหรือเป็นนักโบราณคดี เชื่อว่า จะนำมาซึ่งโชคร้าย โรคภัย หรือความตาย และนับแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา นักเขียนและนักสารคดีหลายคนแย้งว่า คำสาปมีผลจริงที่ใช้วิทยาศาสตร์อธิบายได้ เช่น อาศัยแบคทีเรียหรือการแผ่รังสี ถึงแม้ว่าเรื่องเล่าเกี่ยวกับคำสาปมัมมี่อียิปต์ แหล่งที่มาในสมัยปัจจุบัน พัฒนาการซึ่งหลัก ๆ แล้วอยู่ในวัฒนธรรมยุโรป การแปรจากเรื่องเวทมนตร์ไปยังวิทยาศาสตร์ รวมถึงวัตถุประสงค์ที่เปลี่ยนไปในการใช้งานคำสาป เช่น จากการลงโทษผู้รบกวนไปเป็นการสร้างความบันเทิงในภาพยนตร์ เหล่านี้บ่งบอกว่า คำสาปเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม มากกว่าทางวิทยาศาสตร์โดยตรง[1]ในทางโบราณคดี ไม่เคยมีการค้นพบคำสาปภายในตัวสุสานของฟาโรห์ดังที่เข้าใจกัน[2] แต่ตัวอย่างคำสาปจริง ๆ ก็มีอยู่ อย่างกรณีสุสานแมสตาบาของ Khentika Ikhekhi ในช่วงราชวงศ์ที่ 6 ซึ่งดูจะมีไว้เพื่อกำกับให้นักบวชทำหน้าที่ให้ดี มากกว่าจะเพื่อเตือนผู้คิดบุกรุก การแพร่สะพรัดเรื่องคำสาปย้อนหลังไปได้ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่มาทวีขึ้นอย่างยิ่งหลังจากเฮาเวิร์ด คาร์เทอร์ (Howard Carter) ค้นพบสุสานของทูเทินคามูนเมื่อ ค.ศ. 1922 [3]