คุรุอังคัท
คุรุอังคัท

คุรุอังคัท

คุรุอังคัท (Guru Angad) หรือบางเอกสารสะกดแตกต่างกันไป เช่น คุรุอังคัต, คุรุอังกัต, คุรุอังขัต และ คุรุอังฆัต เป็นคุรุศาสดาองค์ที่สองของศาสนาซิกข์ ท่านเกิดในครอบครัวของชาวฮินดูในหมู่บ้านหริเก (Harike) ในเมืองมุกตเสร์ (Muktser) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดียใกล้กับแคว้นปัญจาบในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1504 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1552[2][3] ท่านมีชื่อโดยกำเนิดว่า "ภาอี เลห์นา" (Bhai Lehna) บิดาของท่านเป็นพ่อค้าส่วนตัวท่านเองบวชเป็นนักบวช "บูชารี" (Pujari; นักบวชที่ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมในโบสถ์พราหมณ์) และเป็นศาสนจารย์ ที่นับถือพระแม่ทุรคาเป็นหลัก[3][4]ต่อมา ท่านได้พบกับคุรุนานัก ศาสดาคุรุพระองค์แรกของซิกข์ ท่านจึงเปลี่ยนศาสนามาเป็นชาวซิกข์และทำงานช่วยเหลือคุรุนานักเป็นเวลาหลายปี ท่านคุรุนานักมอบชื่อใหม่ให้กับท่านภัย เลห์นา ว่า "คุรุอังคัท" (Guru Angad) อันแปลว่า "แขนขาของเรา" (my own limb)[5] และได้แต่งตั้งให้เป็นคุรุศาสดาองค์ที่สองต่อจากตัวคุรุนานักเอง แทนที่จะแต่งตั้งบุตรของท่านด้วยซ้ำ[3][4][6]หลังการเสียชีวิตของคุรุนานักใน ค.ศ. 1539 คุรุอังคัตจึงสืบสานและดำรงตำแหน่งผู้นำของศาสนาซิกข์ต่อจากคุรุนานัก[7][8] ผลงานสำคัญของท่านที่ช่วยพัฒนาศาสนาซิกข์ คือการพัฒนาและจัดระบบอักษรคุรมุขีโดยพัฒนาดัดแปลงจากอักษรทาครี ซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในแถบเทือกเขาหิมาลัย[2][4] ท่านยังรวบรวมเพลงสวดของคุรุนานักและประพันธ์เพลงสวดขึ้นอีก 62-63 เพลง[4] ต่อมาท่านได้เลือกคุรุศาสดาองค์ต่อไปด้วยแนวคิดเช่นเดียวกับคุรุนานัก คือไม่เลือกบุตรของตนแต่เลือกผู้ที่มีความสามารถมากกว่า ซึ่งท่านได้แต่งตั้งคุรุอมรทาส เป็นคุรุศาสดาองค์ที่ 3 ถัดจากท่านเอง[7][8]

คุรุอังคัท

รู้จักจาก สร้างมาตรฐานของอักษรคุรมุขี
คู่สมรส Mata Khivi
บุตร Baba Dasu, Baba Dattu, Bibi Amro และ Bibi Anokhi
เกิด
ภาอีเลหนา (Bhai Lehna)

31 มีนาคม ค.ศ.1504
ตาย 29 มีนาคม ค.ศ. 1552 (47 ปี)
ผู้ดำรงตำแหน่งถัดมา คุรุอมรทาส
บิดามารดา Mata Ramo กับ Baba Pheru Mal
ศาสนา ศาสนาซิกข์
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้า คุรุนานัก