คุรุอมรทาส
คุรุอมรทาส

คุรุอมรทาส

คุรุอมรทาส (อังกฤษ: Guru Amar Das; ปัญจาบ: ਸ੍ਰੀ ਗੁਰੂ ਅਮਰਦਾਸ ਜੀ) เป็นคุรุศาสดาองค์ที่ 3 ของศาสนาซิกข์[2]เดิมทีท่านนับถือลัทธิไวษณพในศาสนาฮินดู[3][4] จนกระทั่งเมื่อท่านได้ฟังบีบี อมโร (Bibi Amro) ผู้เป็นภรรยาของหลานชายท่านกำลังสวดเพลงสวดของท่านคุรุนานัก ทำให้ท่านเกิดความสนใจในศาสนาซิกข์ขึ้นเป็นอย่างมาก[3] ท่านอมรทาสจึงได้ขอให้บีบี อมโร พาท่านไปพบกับบิดาของนางซึ่งคือคุรุอังคัต ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำสูงสุดของซิกข์ในขณะนั้น[5] ท่านได้เปลี่ยนศาสนาเป็นซิกข์ในปี ค.ศ. 1539 หลังพบกับท่านคุรุอังคัต ด้วยอายุ 60 ปี และปรณิบัติรับใช้ท่านคุรุอังคัตอย่างดี[6] ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นคุรุศาสดาองค์ถัดไปโดยคุรุอังคัตก่อนการเสียชีวิตของคุรุอังคัตในปี ค.ศ. 1552[7]คุรุอมรทาสถือเป็นนักพัฒนาที่สำคัญของศาสนาซิกข์ เช่น การริเริ่มองค์กร "มานชิ" (Manji)[5][3], การแต่งหนังสือรวมเพลงสวด "โปธิ" (Pothi) ซึ่งช่วยให้การแต่งคัมภีร์แรก "อดิ กรันตะ" (Adi Granth) ของคุรุรามดาส ผู้เป็นคุรุศาสดาองค์ถัดมาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และการสร้างประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ได้แก่ การตั้งชื่อบุตร-ธิดา, พิธีมงคลสมรส (อนันตขาราช; Anand Karaj) และ พิธีศพ และ รวมถึงเทศกาลซิกข์ เช่น ดิวาลี (Diwali), มัคขี (Maghi) และ วิสาขี (Vaisakhi) และท่านได้ประกาศให้หริมันทิรสาหิบเป็นศาสนสถานที่เป็นศูนย์รวมของซิกข์ท่านคุรุเสียชีวิตลงด้วยอายุ 95 ปี และแต่งตั้งภัย เชธา (Bhai Jetha) บุตรเขยของท่านเป็นคุรุศาสดาองค์ถัดไป พร้อมมอบชื่อใหม่ว่า "คุรุรามดาส" อันแปลว่า ผู้รับใช้ของพระเจ้า[3][8]

คุรุอมรทาส

รู้จักจาก
คู่สมรส Mata Mansa Devi
บุตร Bhai Mohan, Bhai Mohri, Bibi Dani, และ Bibi Bhani
เกิด
อมรทาส

5 พฤษภาคม ค.ศ.1479
หมู่บ้าน Basarke, (ปัจจุบันคืออมฤตสระ, รัฐปัญจาบ, ประเทศอินเดีย)[1]
ตาย 1 กันยายน ค.ศ. 1574 (95 ปี)
ผู้ดำรงตำแหน่งถัดมา คุรุรามทาส
บิดามารดา Tej Bhan กับ Mata Lachmi
ชื่ออื่น คุรุองค์ที่ 3
ช่วงที่ดำรงตำแหน่ง ค.ศ.1552–1574
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้า คุรุอังคัต
ศาสนา ศาสนาซิกข์