หริมันทิรสาหิบ
หริมันทิรสาหิบ

หริมันทิรสาหิบ

หริมันทิรสาหิบ, ฮรมันดิรซาฮิบ หรือ หริมนเทียรสาหิบ (คุรมุขี: ਹਰਿਮੰਦਰ ਸਾਹਿਬ; เทวนาครี: हरिमन्दिर साहिब}}; อักษรโรมัน: Harmandir Sahib) หรือ วิหารทอง (Golden Temple) เป็นคุรุทวาราที่สำคัญที่สุดในศาสนาซิกข์[2][3] ตั้งอยู่ที่เมืองอมฤตสระ รัฐปัญจาบ ทางภาคเหนือของประเทศอินเดีย ชื่อของวิหารนั้นแปลว่า ที่สถิตของพระผู้เป็นเจ้า สถานที่อันเป็นที่ยกย่องว่าศักดิ์สิทธิ์สูงสุด (abode of God, exalted holy court)[2][4] ในภาษาไทยได้มีผู้เรียกวิหารนี้อีกหลายชื่อ เช่น วิหารทองคำ, สุวรรณวิหาร เป็นต้นวิหารนั้นสร้างขึ้นท่ามกลางสระน้ำ (สระน้ำอมฤทธิ์) ซึ่งสร้างโดยคุรุรามดาส (Guru Ram Das) ในปี ค.ศ. 1577[5][6] ต่อมา คุรุอาร์จัน (Guru Arjan) ซึ่งทรงเป็นคุรุศาสดาองค์ที่ 5 ตามความเชื่อของซิกข์ได้ทรงรับสั่งให้ไสเมียนมีระ (Sai Mian Mir) ผู้เป็นเปียร์ (pir) ชาวมุสลิมแห่ง ละฮอร์ วางศิลาฤกษ์ในปี ค.ศ. 1589[1] ต่อมาในปี ค.ศ. 1604 คุรุอาร์จันได้ประดิษฐานพระมหาคัมภีร์ อดิ กรันตะ (Adi Granth) (ซึ่งต่อมาเรียกว่า พระมหาคัมถีร์ คุรุกรันตสาหิบ) และประทานชื่อให้กับวิหารนี้ว่า อัตสัตทิราถ (Ath Sath Tirath) ซึ่งแปลโดยตรงว่าสถานที่แห่ง 68 การแสงบุญอันศักดิ์สิทธิ์ ("shrine of 68 pilgrimages")[2][7] วิหารนั้นได้รับการสร้างใหม่อย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวซิกข์ จึงถูกทำลายอย่างต่อเนื่องทั้งจากกองทัพมุสลิมของอาณาจักรในอัฟกานิสถานและจากจักรวรรดิโมกุล[2][3][8] เช่น การบุกทำลายของพระเจ้าอาห์เม็ด ชาห์ ทุรณี (Ahmad Shah Durrani) ในปี ค.ศ. 1757 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1762[2][9] มหาราชา พระนามว่า รันจิต สิงห์ (Maharaja Ranjit Singh) ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิซิกข์ ได้ทรงบูรณะวิหารใหม่ครั้งใหญ่โดยประดับด้วยหินอ่อนและทองแดงในปี ค.ศ. 1809 และประดับภายนอกด้วยทองคำเปลวในปี ค.ศ. 1830 ทำให้วิหารแห่งนี้ได้รับชื่อว่าเป็น "วิหารทองคำ" นับแต่นั้นมา[10][11][12]หริมันทรสาหิบจริง ๆ แล้วประกอบด้วยหมู่อาคารและคุรุทาวราอีกหลายแห่ง เช่น อกาลทัคต์ และภายในมีที่พักสำหรับผู้แสวงบุญและนักท่องเที่ยวที่ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งโรงครัวพระศาสดา

หริมันทิรสาหิบ

เว็บไซต์ เว็บไซต์ทางการของคณะกรรมการวิหาร
พิกัดภูมิศาสตร์ 31°37′12″N 74°52′37″E / 31.62000°N 74.87694°E / 31.62000; 74.87694
ผู้สร้าง คุรุอรชุน (Guru Arjan)
ปีที่เริ่ม ค.ศ. 1589 (อาคาร)
ค.ศ. 1604 (นำคัมภีร์ อดิ กรันตะ มาประดิษฐาน)[1]
ที่ตั้ง เมืองอมฤตสระ รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย
ศาสนา ศาสนาซิกข์