การฟื้นฟูคุ้มวิชัยราชา ของ คุ้มวิชัยราชา

หลังจากครอบครัวแสนศิริพันธุ์ย้ายออกไป คุ้มวิชัยราชาได้ถูกทอดทิ้งโดยปราศจากการดูแลเอาใจใส่มาร่วม 40 ปี มีบางครั้งที่ผู้เป็นเจ้าของรายใหม่ได้ทำการปรับปรุงทาสีตกแต่งเพื่อจะย้ายเข้ามาอยู่ แต่ก็มีอันเป็นไป และจากคำล่ำลือต่างๆนานาคุ้มเจ้าหลวงนี้ได้ติดประกาศขายเรื่อยมา และมีผู้พยายามเข้ามาซื้อแต่ต้องมีอันเป็นไปและขัดข้องทุกราย จนทำให้บ้านหลังนี้ถูกทอดทิ้งเป็นบ้านร้างเรื่อยมา กระทั่งกลางเดือนเมษา พ.ศ. 2435 วีระ สตาร์ ได้บังเอิญหลงทางผ่านไปพบบ้านหลังนี้เข้าเกิดความประทับใจทั้งสงสาร และเสียดายที่ได้เห็นบ้านหลังนี้อยู่ในสภาพทรุดโทรมสุดขีด บ้านเอียงทรุดไปด้านหนึ่งเพราะการตัดตง ตัดคานออกเพื่อย้ายบันไดเพื่อย้ายบันไดเข้ามาอยู่ด้านใน โดยไม่ได้ศึกษาโครงสร้างของบ้านในยุคหลังตัวบ้านและรอบบริเวณมีวัชพืชปกคลุมหนาแน่นเชื่อกันว่าเป็นแหล่งชุมนุมของหอยทาก และงูชนิดต่างที่ใหญ่ที่สุดกลางเมืองแพร่ผู้คนในเมืองนี้โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก พากันหลีกหนีไม่กล้าผ่านบ้านนี้แม้จะเป็นตอนกลางวันก็ตาม และขนานนามว่าบ้านผีสิงต่อมาได้ตัดสินใจซื้อบ้านและที่ดินทั้งพันกว่าตารางวานี้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ และเริ่มเคลียร์พื้นที่และเริ่มทำงานปรับปรุงซ่อมแซมโครงสร้างของบ้านโบราณให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อรองรับบูรณะขั้นต่อไปอย่างไรก็ตามงานก่อสร้างต่างๆได้เริ่มกันอย่างจริงจังในปีต่อมาเมื่อได้รับเงินสนับสนุนจากสถาบันการเงินจุดประสงค์ของผู้ซื้อที่ดินรายนี้แตกต่างจากผู้จะซื้อรายอื่นๆที่ผ่านมาในอดีตเพราะมีความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์เรือนโบราณที่มีอายุกว่าร้อยปีนี้ไว้เป็นหัวใจของโครงการ เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ของแผ่นดินเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมโดยเฉพาะตัวเรือนหรือคุ้มวิชัยราชาเองที่มีรูปแบบผสมผสานระหว่างเรือนไม้แบบมนิลา และเรือนขนมปังขิง ร่วมกับสถาปัตยกรรมล้านนาเรือนแบบนี้เป็นที่นิยมกันในหมู่เจ้านาย ขุนนาง และคหบดี มาตั่งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 5 และสิ้นสุดเอาปลายรัชกาลที่ 6 จะเห็นได้ว่าช่วงนั้นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศไทยเป็นยุคล่าเมืองขึ้นแช่งกันหาอาณานิคมของชาติตะวันตกบางคนจึงเรียกบ้านแบบนี้ว่า โคโรเนี่ยลหรือบ้านสมัยอาณานิคมเพราะฝรั่งนำมาเผยแพร่และสร้างขึ้นในภูมิภาคนี้อย่างแพร่หลาย ประเทศไทยเองช่วงนั้นต้องทำทุกอย่างเพื่อความอยู่รอดเป็นไท ได้มีการผลักดันให้เหล่าขุนนางและผู้อันจะกินทั้งหลายได้ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ให้ทันสมัยทัดเทียมอารยะประเทศรวมทั้งพยายามจัดรูปแบบการปกครองให้ทันสมัยรัดกุมยิ่งขึ้นเพื่อแสดงให้ฝรั่งนักล่าเมืองขึ้นเห็นว่าเรามีความเจริญเป็นศิวิไลไม่ใช่บ้านป่าเมืองเถื่อนด้วยพัฒนาที่ต้องเข้ามายึดครองและจัดระเบียบกันใหม่ซึ่งเป็นเล่ห์เหลี่ยมที่ฝรั่งนักล่าอาณานิคมมักใช้เป็นข้ออ้างในการเขมือบดินแดนในยุคนั้น

ผู้ดำเนินการโครงการนี้ตระหนักและซาบซึ้งถึงความสัมพันธ์ของคุ้มวิชัยราชามาแต่ต้นว่า เป็นรอยต่อทางประวัติศาสตร์ของสมัยรัชกาลที่ 5 ในช่วงที่สยามประเทศกำลังวิกฤตถึงขีดสุดเหตุการณ์เงี้ยวปล้นเมืองแพร่และลำปางเป็นส่วนหนึ่งของแผนยึดดินแดนของฝรั่งเศส ที่จ้องผนวกดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงและภาคเหนือแต่แผนการนี้ต้องล้มเหลวเพราะเริ่มเร็วก่อนกำหนดและไม่สามารถตียึดเมืองลำปางได้คุ้มวิชัยราชาได้ชื่อว่าบ้านปราบเงี้ยวเป็นหลักฐานสำคัญและเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ที่ภาครัฐเอกชนและคนไทยทุกคนควรตระหนักและหวงแหนเป็นอย่างยิ่งแต่อย่างไรก็ตามเมื่อโครงการและผู้ประกอบมีปัญหาได้มีการพยายามลักดันให้มีการขายทอดตลาดมรดกประวัติศาสตร์ชิ้นนี้หลายครั้งทั้งที่ผู้ประกอบการได้ร้องขอไปยังนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแต่ไร้ผลถึงแม้ว่าต่อมากรมศิลปกรจะมีบันทึกถึงหระทรวงการคลังว่าคุ้มวิชัยราชาเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญโดยอายุโดยลักษณะแห่งการก่อสร้างและโดยหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์เป็นประโยชน์ทางศิลปทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแต่ยังมิได้ขึ้นทะเบียนสถานภาพของคุ้มวิชัยราชายังเป็น NPA อยู่

กาลเวลาทำให้เกียรติภูมิและความสำคัญของวิชัยราชาต้องมีอันเป็นไปและอาจสิ้นสลายผุพังไปตามกาลเวลา หากวีระ สตาร์ ไม่ผ่านมาพบบ้านหลังนี้โดยบังเอิญเมื่อพ.ศ. 2535 แต่วันนี้เพราะความไร้เดียงสาของผู้บริหารของสถาบันการเงินและสังคมรวมทั้งรัฐบาลที่ปราศจากจิตสำนึกและเล็งเห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์อย่างแท้จริงทำให้โครงการวิชัยราชาเป็นหนี้เน่า ไปในที่สุด รวมทั้งผู้ประกอบการเองที่ได้เผ้าเสียสละฟูมฟักประคับประคองมรดกประวัติศาสตร์มาร่วม 12 ปี โดยเดิมพันของเครดิตส่วนตัวและทรัพย์สินเงินทองที่สร้างสมมาตลอดชีวิตกำลังตกอยู่ในสภาพร่อนแร่โดยที่โครงการ SME ในเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดแพร่ยังไม่ไปถึงไหนรวมทั้งความหวังที่จะอนุรักษ์คุ้มวิชัยราชาเป็นมรดกประวัติศาสตร์และเป็นแหล่งรวบรวมวีรกรรมในอดีต เป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และความเจริญรุ่งเรืองของสยามประเทศในอดีตในรูปแบบของพิพิธพันธ์ท้องถิ่นเพื่อเน้นปลูกฝังให้สังคมได้เห็นถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย เพื่อปลูกจิตสำนึกของความเป็นชาติเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชาติอันมีผลต่อความมั่นคงเป็นปึกแผ่นของชาติไทยเราเชื่อว่า ถ้าชนในชาติโดยเฉพาะเยาวชนได้รับการปลูกฝังให้มีจิตสำนึกของความรักชาติภาคภูมิใจในความเป็นชาติในวิญญาณและสายเลือดจนมีจุดยืนที่มั่นคงแล้ว ยากที่เขาเหล่านั้นจะถูกชักจูงไปในทางลบดั่งที่เห็นและเป็นอยู่

ผู้ประกอบการณ์โครงการนี้ได้เคยเสียสละเพื่อชาติมาแล้วจนได้รับบาดเจ็บสาหัสในตำแหน่งผู้นำโจมตีทางอากาศ วิชัยราชาเป็นอีกโครงการที่วีระ สตาร์ ยอมเจ็บอีกครั้ง เพื่อยึดถือและเดินตามรอยพระยุคลบาทของในหลวงและเดิมตามกระแสพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การรักษามรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมีความสำคัญเหนือเงินตราเงินถ้าไม่มีหาได้แต่มรดกเหล่านี้ถ้าสูญไปแล้วหาทดแทนไม่ได้[3]

ใกล้เคียง

คุ้มวิชัยราชา คุ้มวงศ์บุรี คุ้มเจ้าหลวง (นครแพร่) คุ้มท่าเจดีย์กิ่ว คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) คุ้มรินแก้ว คุ้มเจ้าหนานไชยวงศ์ คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (น้อยหนู) คุ้มหลวงเวียงแก้ว คลุ้ม วัชโรบล