ค่าคงตัวจักรวาล

ในการศึกษาจักรวาลวิทยา ค่าคงตัวจักรวาล (อังกฤษ: Cosmological constant; มักเขียนย่อด้วยอักษรกรีกตัวใหญ่ แลมบ์ดา: Λ) คือค่าคงตัวที่นำเสนอโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เพื่อปรับปรุงทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาเองให้สามารถได้ผลสอดคล้องกับแบบจำลองเอกภพสถิตที่ไอน์สไตน์เชื่อ ในภายหลังไอน์สไตน์ก็ละทิ้งแนวคิดนี้ไปหลังจากมีผลสังเกตการณ์การเคลื่อนไปทางแดง ของ เอ็ดวิน ฮับเบิล ซึ่งบ่งชี้ว่าเอกภพไม่ได้มีสภาวะสถิตหรือหยุดนิ่งกับที่ แต่เอกภพกำลังขยายตัว[1] อย่างไรก็ดี การค้นพบ ความเร่งของจักรวาล (cosmic acceleration) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้รื้อฟื้นความสนใจเกี่ยวกับค่าคงตัวจักรวาลขึ้นมาใหม่

ใกล้เคียง

ค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ ค่าคงที่โครงสร้างละเอียด ค่าคงตัวของพลังค์ ค่าคงตัวความโน้มถ่วง ค่าคงตัวไฟฟ้า ค่าคงตัวของแก๊ส ค่าคงตัวทางฟิสิกส์ ค่าคงตัว ค่าคงตัวอ็อยเลอร์–มัสเกโรนี ค่าคงตัวจักรวาล