ปฏิกิริยาจากแอ็ลเซอเฟียร์ ของ ค่าความรู้

ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ปี 2555 แอ็ลเซอเฟียร์ได้ประกาศข้อความบนเว็บไซต์ว่าได้เพิกถอนการสนับสนุนต่อร่างรัฐบัญญัติงานวิจัยเป็นที่เรียบร้อย[16] แม้ว่าขบวนการค่าความรู้ไม่ได้ถูกเอ่ยถึง ข้อความชี้ถึงความหวังที่ขบวนการจะ "ช่วยลดบรรยากาศที่คุกรุ่น และสร้างบรรยากาศที่ก่อให้เกิดผลมากขึ้น" สำหรับการสนทนากับนายทุนงานวิจัย[17]

ขณะที่ผู้ร่วมลงชื่อได้ทำการฉลองกับการที่แอ็ลเซอเฟียร์ได้เพิกถอนการสนับสนุนต่อร่างรัฐบัญญัติงานวิจัย แอ็ลเซอเฟียร์ได้ปฏิเสธและอ้างว่าการกระทำนั้นไม่ได้ส่งผลมาจากการคว่ำบาตร แต่กลับบอกว่าพวกเขาเพิกถอนเนื่องมากจากคำขอของนักวิจัยที่ไม่ได้ร่วมลงชื่อคว่ำบาตร[18]

ในวันเดียวกันแอ็ลเซอเฟียร์ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกให้สมาคมคณิตศาสตร์เพื่อแจ้งเกี่ยวกับเป้าหมายที่จะลดราคาของบทความให้อยู่ที่บทความละ 11 ดอลลาร์สหรัฐ หรือน้อยกว่านั้น[19] หลายชั่วมองต่อมาผู้แทน ดาร์เรลล์ อิสสา และคาร์โรไลน์ มาโลนีย์ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนร่างรัฐบัญญัติได้เผยแพร่ข้อความว่าพวกเขาจะไม่กระตุ้นการออกกฎหมายจากร่างรัฐบัญญัตินี้อีกต่อไป การคว่ำบาตรยังถูกดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน [20][19] ก่อนหน้านั้น ไมก์ เทย์เลอร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอลได้กล่าวหาว่าแรงบันดาลใจของอิสสาและมาโลนีย์อาจถูกขับเคลื่อนโดยเงินบริจาคก้อนใหญ่จากแอ็ลเซอเฟียร์ในปี 2554 [21]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ค่าความรู้ http://www.bloomberg.com/news/2012-02-13/bard-moto... http://www.bostonglobe.com/opinion/2012/02/12/why-... http://chronicle.com/article/Legislation-to-Bar/13... http://chronicle.com/blogs/wiredcampus/elsevier-pu... http://blogs.discovermagazine.com/crux/2012/02/21/... http://www.economist.com/node/21545974 http://www.elsevier.com/wps/find/intro.cws_home/el... http://www.forbes.com/sites/timworstall/2012/01/28... http://www.handelsblatt.com/politik/oekonomie/nach... http://www.handelsblatt.com/politik/oekonomie/nach...