ประวัติ ของ ค่าความรู้

ก่อนการเกิดของอินเทอร์เน็ต การกระจายบทความซึ่งรายงานผลของงานวิจัยนั้นมีความลำบาก[1] ในอดีต สำนักพิมพ์ให้การบริการหลายอย่าง เช่น การพิสูจน์อักษร การเรียงพิมพ์ การปรับปรุงต้นฉบับ การพิมพ์ และการแจกจ่ายทั่วโลก[1] ในยุคปัจจุบัน ผู้วิจัยทุกคนถูกคาดหวังให้ส่งสำเนาดิจิทัลของผลงานที่ผ่านการดำเนินการโดยสมบูรณ์แล้วแก่สำนักพิมพ์ เรียกได้ว่านักวิชาการสมัยนี้ถูกคาดหวังให้ทำงานที่เคยเป็นงานและค่าใช้จ่ายของสำนักพิมพ์ โดยไม่มีค่าตอบแทน[1] สำหรับการแผยแพร่แบบดิจิทัลนั้น การพิมพ์นั้นไม่จำเป็น การทำสำเนานั้นไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถแจกจ่ายทั่วโลกออนไลน์ได้ทันที[1] เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่มาพร้อมกับต้นทุนต่อหัวที่ลดลงอย่างชัดเจน ทำให้สำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์หลักทั้ง 4 สำนักพิมพ์อย่าง แอ็ลเซอเฟียร์ สปริงเกอร์ วิลลีย์ และอินฟอร์มา มีโอกาสลดต้นทุนและสร้างกำไรสนธิอย่างต่อเนื่อง[1]

การเปลี่ยนแปลงจากสถานะเดิม

ในวันที่ 21 มกราคม 2555 นักคณิตศาสตร์ ทิโมธี โกเวอส์ เรียกร้องให้คว่ำบาตรแอ็ลเซอเฟียร์ โดยการเผยแพร่ข้อความบนบล็อกส่วนตัวของเขา[2] ข้อความนี้ได้รับความสนใจมากพอที่จะดึงดูดให้สื่อเรียกว่าเป็นการริเริ่มของขบวนการ[3][4] สามเหตุผลที่ทำให้เค้าขอร้องให้มีการคว่ำบาตรได้แก่ ราคาสมาชิกที่สูงของแต่ละวารสาร การรวมชุดวารสารที่มีมูลค่าและความสำคัญต่างกัน และการที่แอ็ลเซอเฟียร์สนับสนุนร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (SOPA) ร่างรัฐบัญญัติคุ้มครองไอพี รวมไปถึงร่างรัฐบัญญัติงานวิจัย[5][6][7]

แอ็ลเซอเฟียร์ได้โต้เถียงกับคำกล่าวอ้าง และบอกว่าราคาของพวกเขานั้นต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในอุตสาหกรรมด้วยซ้ำไป และยังบอกอีกว่าการรวมชุดวารสารนั้นเป็นเพียงหนึ่งในตัวเลือกในการสั่งซื้อวารสารของแอ็ลเซอเฟียร์เท่านั้น[6] บริษัทยังอ้างว่ากำไรของบริษัทนั้นเป็น "ผลลัพธ์จากการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ"[5] ผู้วิจารณ์ของแอ็ลเซอเฟียร์อ้างว่าในปี ในปี 2553 นั้น 36% ของรายได้ทั้งหมดของแอ็ลเซอเฟียร์ซึ่งมีมูลค่าราว 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนั้นคือกำไร[8] ขณะที่แอ็ลเซอเฟียร์อ้างว่ามี อัตรากำไรจากการดำเนินงานจำนวน 25.7% ในปี 2553[9]

ผลกระทบและการยอมรับ

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2555 นักวิเคราะห์ของแบงค์  Exane Paribas ได้รายงานผลกระทบทางการเงินของแอ็ลเซอเฟียร์ด้วยราคาหุ้นที่ตกลงหลังจากการคว่ำบาตร[10] เดนนิส สโนเวอร์ วิจารณ์ระบบผูกขาดของสำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์ ทว่าในขณะเดียวกันได้บอกว่าเขาไม่สนับสนุนการคว่ำบาตรแม้ว่าเขาดำรงตำแหน่งบรรณาธิการบริหารของวารสารที่เข้าถึงได้แบบเสรีในด้านเศรษฐศาสตร์ก็ตาม เขาคิดว่าควรส่งเสริมการแข่งขันระหว่างวารสารแทนที่จะทำการคว่ำบาตร[11] [12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ค่าความรู้ http://www.bloomberg.com/news/2012-02-13/bard-moto... http://www.bostonglobe.com/opinion/2012/02/12/why-... http://chronicle.com/article/Legislation-to-Bar/13... http://chronicle.com/blogs/wiredcampus/elsevier-pu... http://blogs.discovermagazine.com/crux/2012/02/21/... http://www.economist.com/node/21545974 http://www.elsevier.com/wps/find/intro.cws_home/el... http://www.forbes.com/sites/timworstall/2012/01/28... http://www.handelsblatt.com/politik/oekonomie/nach... http://www.handelsblatt.com/politik/oekonomie/nach...