ประวัติ ของ งานบุญกลางบ้าน

ประเพณีงานบุญกลางบ้าน เป็นประเพณีงานบุญของชาวไทยกลุ่มวัฒนธรรมที่ราบลุ่มภาคกลาง มีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานว่าอาจจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังการพบหลักฐานตุ๊กตาดินเผาสะเดาะเคราะห์รูปคน หรือที่เรียกว่า "ตุ๊กตาเสียกบาล" ซึ่งเป็นสิ่งประกอบในการกระทำประเพณีงานบุญกลางบ้านมาจนถึงปัจจุบัน[1] [2]

โดยประเพณีงานบุญกลางบ้าน เป็นประเพณีไทยที่จัดภายนอกศาสนสถาน ชาวบ้านจะเลือกวันจัดที่เหมาะสม โดยจัดในบริเวณลานกว้างในหมู่บ้านที่เป็นสถานที่ที่เคยจัดกันมาเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการชุมนุมชาวหมู่บ้านมาร่วมจัดงานประเพณีร่วมกัน โดยมีรายละเอียดการจัดแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ โดยบางแห่งมีการก่อพระเจดีย์ทรายไว้เป็นเครื่องหมาย ซึ่งคติการก่อเจดีย์ทรายไว้กลางหมู่บ้านนี้มาจากเรื่องราวในธรรมบทเพื่อเป็นการสร้างกุศลก่อเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชาร่วมกัน[3] และมีการทำกบาลใส่ดินปั้นผู้อาศัยในครัวเรือนของตน ๆ ไปวางไว้ตามทางสามแพร่งเพื่อสะเดาะเคราะห์อีกด้วย โดยมีการนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มาสวดพระปริตรพระพุทธมนต์ในเวลาค่ำ และนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาถวายภัตตาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น เพื่อเป็นการบำเพ็ญกุศลเสริมสร้างสิริมงคลแก่หมู่บ้านและชุมชนนั้น ๆ

ประเพณีทำบุญกลางบ้านคุ้งตะเภา จังหวัดอุตรดิตถ์

ใกล้เคียง

งานบุญกลางบ้าน งานบุญบั้งไฟ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ งานฟุตบอลประเพณี ราชภัฏฯ–ราชมงคลอีสาน งานบริการชุมชน งานชุมนุมที่มอสโก พ.ศ. 2565 งานชุมนุมลูกเสือโลก งานธุรกิจ งานฟุตบอลประเพณี ผลงานของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว