ประวัติ ของ งานโย

การกล่าวถึงโดยตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่

งานโยถูกกล่าวถึงในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่[4][5]ในนาม มังแรนร่า โดยระบุว่าแต่เดิมมังแรนร่าเป็นผู้ครองเมืองเลงหรือเมืองแลง และขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2250/2251 (จ.ศ. 1069)

ในปี พ.ศ. 2269/2270 (จ.ศ. 1088) เมืองน่านขาดเจ้าผู้ครองเมือง พระนาขวาและเหล่าขุนนางจึงร้องขอเจ้าเมืองพระองค์ใหม่จากเมืองเชียงใหม่ ผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่และผู้ปกครองเมืองเชียงแสนกราบทูลต่อพระเจ้าตะนินกันเหว่ พระองค์จึงทรงแต่งตั้งให้พญาหลวงตื๋นจากเมืองเชียงใหม่ไปเป็นเจ้าเมืองน่านในเดือนมีนาคม

การกล่าวถึงโดยหลักฐานอื่น

งานโยอาจเป็นบุคคลเดียวกับมังแรหน่อรถาที่ถูกกล่าวถึงโดยราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ต้นฉบับใบลานวัดเชียงมั่น[6]ว่า เป็นผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่ระหว่างปี พ.ศ. 2263/2264 (จ.ศ. 1082) - พ.ศ. 2270 อย่างไรก็ตาม พงศาวดารเชียงใหม่ ต้นฉบับใบลานวัดพระสิงห์เมืองเชียงราย[7]ระบุว่า มังแรหน่อรถาตายในปีเดียวกันกับเมียวหวุ่นพระองค์ก่อนหน้า ซึ่งหมายถึง มีนเยนอระทา

การก่อกบฏของชาวเชียงใหม่

บทความหลัก: เทพสิงห์

ในสมัยของงานโย ขุนนางพม่าได้เรียกเก็บภาษีอย่างหนักและกดขี่ราษฎร[3][8] ต้นปี พ.ศ. 2270 เทพสิงห์ร่วมกับชาวบ้านชาวเมือง ประหารงานโยแล้วขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ชาวพม่าบางส่วนหลบหนีไปยังเมืองเชียงแสน และบางส่วนเข้าสวามิภักดิ์กับเจ้าองค์นก