จดหมายจางวางหร่ำ

จดหมายจางวางหร่ำ เป็นงานพระนิพนธ์ของพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส. ลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือ ทวีปัญญา และได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2478 เป็นวรรณกรรมในรูปแบบการเขียนจดหมาย ซึ่งเป็นของแปลกในสมัยนั้น นักวิชาการหลายท่านลงความเห็นว่ากรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ น่าจะทรงได้ความคิดในการเขียนจดหมายจากตะวันตก โดยน่าจะได้เค้าโครงมาจากเรื่อง The Letter of a Selfmade Merchant to His Son ของ จอร์จ ฮอเรซ ลอริเมอร์ นักเขียนชาวอเมริกันกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์นิพนธ์จดหมายจางวางหร่ำ ในฐานะบรรณาธิการชั่วคราวระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเรินเมืองเหนือราว 6 เดือน ทรงนิพนธ์จดหมายนี้ลงพิมพ์ติดต่อกันเดือนละฉบับ ลงพิมพ์ในหนังสือ ทวีปัญญา 6 ฉบับ แม้หนังสือ ทวีปัญญา ได้เลิกกิจการแล้ว กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ยังนิพนธ์จดหมายจางวางหร่ำ ฉบับที่ 7 ลงในหนังสือ เสนาศึกษา ดังนั้นจดหมายจางวางหร่ำจึงมีอยู่ 7 ฉบับเนื้อหาของจดหมาย เขียนเป็นร้อยแก้ว เล่าถึงเศรษฐีเมืองฉะเชิงเทราเขียนถึงนายสนธิ์ บุตรชาย รูปแบบของจดหมายที่ปรากฏนั้น เป็นการเขียนไปเพียงฝ่ายเดียวของจางวางหร่ำ ไม่มีจดหมายตอบ แต่ถึงกระนั้นในแต่ละฉบับ ผู้อ่านทราบว่า จางวางหร่ำได้รับจดหมายจากนายสนธิ์เช่นกัน จดหมายฉบับที่ 1-4 เขียนถึงนายสนธิ์ขณะที่นายสนธิ์เรียนอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จดหมายฉบับที่ 5-7 เขียนถึงนายสนธิ์เมื่อนายสนธิ์กลับมายังกรุงเทพฯ แล้ว จดหมายแต่ละฉบับ มีเนื้อหามุ่งอบรมสั่งสอนนายสนธิ์ในเรื่องต่าง ๆ ผู้อ่านสามารถเห็นความคิดหลักในการสอนของจางวางหร่ำได้จากคำขึ้นต้นที่เป็นการสรุปเรื่องราวในจดหมายแต่ละฉบับ ทั้งนี้ยังมีการแทรกอารมณ์ขันอยู่ในเรื่อง[1]

ใกล้เคียง

จดหมายเหตุลาลูแบร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี จดหมายรักจากเมียเช่า จดหมายเหตุ จดหมายเหตุสามก๊ก จดหมาย จดหมายเหตุวันวลิต จดหมายของนักบุญยากอบ จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 จดหมายลูกโซ่