จดหมายเหตุ
จดหมายเหตุ

จดหมายเหตุ

จดหมายเหตุ (อังกฤษ: archive) หมายถึง รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น[1] ผู้บันทึกอาจเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลทั่วไปก็ได้ เพื่อบันทึกไว้สำหรับใช้อ้างอิงในอนาคต สถานที่เก็บและให้บริการเอกสารจดหมายเหตุเรียกว่าหอจดหมายเหตุ[2]ตั้งแต่อดีต พระมหากษัตริย์ไทยโปรดเกล้าฯ ให้มีธรรมเนียมการจดบันทึกเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ รวมถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น โดยผู้มีหน้าที่จดบันทึกดังกล่าวเรียกว่าอาลักษณ์ จดหมายเหตุนี้จะถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในหอจดหมายเหตุหรือหอหลวง เพื่อให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาต่อคนรุ่นหลัง จดหมายเหตุในราชวงศ์นี้ บางทีก็เรียกพงศาวดาร เช่น พระราชพงศาวดารกรุงเก่า และพระราชพงศาวดารเหนือ[3]ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์[4]ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจดหมายเหตุที่บันทึกโดยบุคคลในอดีตก็มีความสำคัญไม่น้อย มีทั้งการบันทึกเหตุการณ์ทั่วไป การบันทึกเรื่องราวของตนเองอย่างลักษณะอนุทิน ฯลฯ บางฉบับมีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมาก เช่น จดหมายเหตุบางกอกของแดน บีช บรัดเลย์ จดหมายเหตุลาลูแบร์ของซีมง เดอ ลา ลูแบร์ จดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ.116 ของพระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยศิริ) จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี จดหมายเหตุจีนว่าด้วยกรุงสยาม เป็นต้นจดหมายเหตุในอดีตพบว่ามีการบันทึก โดยการเขียน การพิมพ์ ลงบนวัสดุต่างๆตามยุคสมัย เช่น แผ่นหิน ใบลาน กระดาษ เป็นต้น

ใกล้เคียง

จดหมายเหตุ จดหมายเหตุลาลูแบร์ จดหมายเหตุสามก๊ก จดหมายเหตุวันวลิต จดหมายเหตุแห่งความน่าสะพรึงกลัว จดหมายเหตุบางกอก จดหมายเหตุแองโกล-แซ็กซอน จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี