กลุ่มดาวฤกษ์ทางจลน์ ของ จลนศาสตร์ดาวฤกษ์

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ชุมนุมดาว

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

กลุ่มเคลื่อนที่

กลุ่มเคลื่อนที่ ในทางดาราศาสตร์ เป็นลักษณะการรวมตัวของดาวฤกษ์อย่างหลวมๆ แบบหนึ่ง เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าดาวฤกษ์จำนวนหนึ่งจะมีกำเนิดมาจากเมฆโมเลกุลแห่งเดียวกัน ซึ่งดาวฤกษ์เหล่านั้นจะรวมกลุ่มกันเป็นกระจุกดาวเปิดที่มีจำนวนสมาชิกตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักพันดวง แต่การรวมตัวในลักษณะกระจุกดาวมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา เมื่อเวลาผ่านไปดาวฤกษ์ในกระจุกเริ่มแยกห่างจากกันมากขึ้นจนกลายเป็นเพียง "ชุมนุมดาว" ถ้าดาวสมาชิกที่เหลืออยู่ในชุมนุมนี้ยังคงเคลื่อนที่ไปด้วยกันในดาราจักร จะเรียกดาวฤกษ์กลุ่มนี้ว่า "กลุ่มเคลื่อนที่"

กลุ่มเคลื่อนที่อาจมีอายุมากแล้ว เช่นกลุ่มเคลื่อนที่ HR 1614 ซึ่งมีอายุกว่า 2 พันล้านปี หรืออาจมีอายุน้อยเช่น กลุ่มเคลื่อนที่ AB Doradus ซึ่งมีอายุเพียง 50 ล้านปี

นักดาราศาสตร์สามารถบอกได้ว่าดาวฤกษ์ดวงหนึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มเคลื่อนที่หรือชุมนุมดาว ก็โดยการที่ดาวฤกษ์นั้นมีลักษณะร่วมกัน เช่น มีอายุเท่ากัน ค่าความเป็นโลหะคล้ายกัน และมีค่าทางจลน์เหมือนกัน (คือความเร็วแนวเล็งและการเคลื่อนที่เฉพาะ) เพราะดาวสมาชิกในกลุ่มเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลกลุ่มเดียวกันในเวลาใกล้เคียงกัน แม้มันจะแยกห่างออกจากกันในภายหลังด้วยแรงน้ำขึ้นน้ำลง แต่ก็ยังมีคุณลักษณะต่างๆ เหมือนกันอยู่[1]

หลักการของกลุ่มเคลื่อนที่ริเริ่มขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 โดย โอลิน เอกเกน[2] รายชื่อกลุ่มเคลื่อนที่อายุน้อยที่อยู่ใกล้ที่สุด et al ได้จัดทำขึ้นโดย López-Santiago[3] โดยกลุ่มที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดได้แก่ กลุ่มเคลื่อนที่หมีใหญ่ อันประกอบด้วยดาวส่วนใหญ่ในกลุ่มดาวเรียงเด่นก้านกระบวยใหญ่ ที่ 60° เหนือ ส่วนที่ไกลที่สุดคือกลุ่มเคลื่อนที่ในกลุ่มดาวสามเหลี่ยมใต้ ที่ 70° ใต้

ธารดาวฤกษ์

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: จลนศาสตร์ดาวฤกษ์ http://www.redorbit.com/news/space/371654/two_exil... http://adsabs.harvard.edu/abs/1965gast.conf..111E http://adsabs.harvard.edu/abs/2006ApJ...643.1160L http://www.journals.uchicago.edu/cgi-bin/resolve?i... http://www.ucm.es/info/Astrof/invest/actividad/skg... http://simbad3.u-strasbg.fr/cgi-bin/cdsbib?2006ApJ... http://www.daviddarling.info/encyclopedia/H/hyperv... http://www.daviddarling.info/encyclopedia/R/runawa... http://arxiv.org/abs/astro-ph/0601580 http://arxiv.org/abs/astro-ph?papernum=9602060