หลังจบการศึกษา ของ จอห์น_แนช

ในปี 1948 ช่วงที่แนชกำลังสมัครงานที่ภาควิชาคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตันอยู่นั้น ศาสตราจารย์ R.J. Duffin ที่ปรึกษาของแนชและอดีตศาสตราจารย์แห่งสถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกีได้เขียนจดหมายแนะนำตัวให้กับแนชโดยมีใจความสั้น ๆ คือ "เด็กหนุ่มนี้เป็นอัจฉริยะ"[3] แต่ว่ากลายเป็นมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ตอบรับการสมัครงานของแนชก่อน ซึ่งที่จริงแล้ว ฮาร์วาร์ดเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งของเขาเพราะเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงมายาวนานและมีคณะคณิตศาสตร์ที่โด่งดัง แต่ Solomon Lefschetz หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตันและจอห์น เอส. เคเนดี แนะนำเขาว่าฮาร์วาร์ดคงจะไม่เห็นค่าของเขาเท่าที่มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน[2] จนในที่สุด แนชจึงได้ตัดสินใจย้ายจากไวท์โอคมาทำงานที่มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน และทำงานอยู่ที่นั่นจนเกิดทฤษฎีดุลยภาพของเขา ที่เรียกว่า สมดุลแบบแนช (ทฤษฎีดุลยภาพของแนช) แนชได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตในปี 1950 จากวิทยานิพนธ์เรื่องทฤษฏีเกมแบบไม่มีความร่วมมือกัน[4] โดยมี Albert W. Tucker เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์นี้ส่วนหนึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับนิยามและคุณสมบัติของสิ่งที่ต่อมาเรียกว่า "ดุลยภาพของแนช" ซึ่งเกี่ยวกับ 3 ประเด็นหลักดังนี้ :

  • "Equilibrium Points in N-person Games", Proceedings of the National Academy of Sciences 36 (1950), 48-49.
  • "The Bargaining Problem", Econometrica 18 (1950), 155-162.
  • "Two-person Cooperative Games", Econometrica 21 (1953), 128-140.

นอกจากนั้น แนชยังได้มีผลงานสำคัญๆเกี่ยวกับเรขาคณิตเชิงพีชคณิตอีกด้วย คือ:

  • "Real algebraic manifolds", Annals of Mathematics 56 (1952), 405-421. See also Proc. Internat. Congr. Math. (AMS, 1952, pp 516-517)

ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาในสาขาของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ คือ Nash embedding theorem

แหล่งที่มา

WikiPedia: จอห์น_แนช http://www.nature.com/news/beautiful-mind-john-nas... http://www.nj.com/middlesex/index.ssf/2015/05/fame... http://www.posttoday.com/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%... http://press.princeton.edu/chapters/i7238.pdf http://www.princeton.edu/main/news/archive/S42/72/... http://www.princeton.edu/mudd/news/faq/topics/nash... http://www.ams.org/mathscinet-getitem?mr0035977 http://www.ams.org/mathscinet-getitem?mr0050928 http://www.ams.org/mathscinet-getitem?mr0053471 http://www.ams.org/mathscinet-getitem?mr=0031701