จะมาลุดดีน_อัลอัฟกานี
จะมาลุดดีน_อัลอัฟกานี

จะมาลุดดีน_อัลอัฟกานี

ซัยยิด จะมาลุดดีน อัลอัฟกานี[7][8][9][10] (ปาทาน: سید جمال‌‌‌الدین افغاني‎) รู้จักกันในชื่อ ซัยยิด จะมาลุดดีน อัลอัฟกานี อะซะดาบาดี[11][12][13] (ปาทาน: سید جمال‌‌‌الدین اسدآبادي‎) และรู้จักกันโดยทั่วไปว่า อัลอัฟกานี (ค.ศ. 1838/1839 – 9 มีนาคม ค.ศ. 1897) เป็นนักคิดเจ้าของลัทธิรวมกลุ่มอิสลามและเป็นปัญญาชนคนสำคัญในโลกอิสลาม เกิดเมื่อ พ.ศ. 2382 ใกล้กับเมืองฮะมะดันในอิหร่านตะวันตก และเข้าศึกษาทางด้านอิสลามที่สำนักอิสลามนิกายชีอะห์ในอิรัก ก่อนจะเผยแพร่ลัทธิรวมกลุ่มอิสลาม เพื่อฟื้นฟูศาสนาอิสลามให้เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งโลก ใน พ.ศ. 2400 เขาได้เดินทางไปอินเดีย และได้เห็นเหตุการณ์กบฏซีปอย ทำให้เขารู้สึกเกลียดชังอังกฤษ เขาได้เดินทางไปอัฟกานิสถานและสนับสนุนให้อัฟกานิสถานต่อสู้กับอังกฤษ แต่ไม่สำเร็จจึงถูกเนรเทศออกมาจากนั้นจามาลได้ไปเผยแพร่ศาสนาในอียิปต์ ซึ่งความเชื่อของเขาได้รับความนิยมมาก แต่ในที่สุด เขาถูกขับออกจากอียิปต์เพราะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยสนับสนุนให้ข้าหลวงอิสมาอีลสละบัลลังก์ให้เตาฟีก บุตรชาย และสนับสนุนให้ชาวอียิปต์ต่อต้านตะวันตก เมื่ออกจากอียิปต์เขาเดินทางไปยังไฮเดอราบาดและเขียนบทความโจมตีเซอร์ไซยิด อาหมัด ข่านที่นิยมอังกฤษ เขาจึงถูกจำคุกที่กัลกัตตา เมื่อพ้นโทษจึงเดินทางไปปารีสและออกหนังสือพิมพ์ต่อต้านอังกฤษ ภายหลังได้เดินทางไปรัสเซียและอิหร่าน แต่ก็ถูกปฏิเสธจากรัฐบาลเหล่านี้ จามาลจึงตั้งองค์กรลับและออกใบปลิวต่อต้านรัฐบาลที่ยอมให้สัมปทานแก่ตะวันตกในบั้นปลายชีวิต เขาได้เดินทางไปยังออตโตมานใน พ.ศ. 2435 เพื่อพบกับสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 ในระยะแรก สุลต่านสนับสนุนเขา แต่ภายหลังเมื่อสุลต่านพบว่าจามาลไม่ได้จงรักภักดีต่อพระองค์อย่างแท้จริงจึงสั่งกักบริเวณจนเขาถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งเมื่อ 9 มีนาคม พ.ศ. 2439 แม้ว่าจามาลจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเกลี้ยกล่อมผู้นำมุสลิมต่างๆต่อต้านตะวันตกแต่ไม่สำเร็จ แต่คนรุ่นต่อมาได้นำความคิดของเขามาใช้จนเกิดเป็นขบวนการภราดรภาพอิสลามในอียิปต์

จะมาลุดดีน_อัลอัฟกานี

ที่ฝังศพ คาบูล, อัฟกานิสถาน[4]
สาเหตุการตาย มะเร็งที่ขากรรไกร[4]
เกิด
Sayyid Jamaluddin ibn Safdar

ฮ.ศ.1254/ ค.ศ.1839
ไม่ทราบสถานที่แน่นอน[1][2][3]
ตาย 9 มีนาคม ค.ศ.1897 (58 ปี)
แนวคิดโดดเด่น Pan-Islamism, เอกภาพระหว่างซุนนี-ชีอะฮ์, เอกภาพระหว่างฮินดู-มุสลิม[5]
ลัทธิ ไม่ทราบ[1][2][3]
ศาสนา อิสลาม
สัญชาติ ไม่ทราบ[1][2][3]