ข้อแตกต่างระหว่างจักรพรรดิกับประมุขแบบอื่น ของ จักรพรรดิ

ทั้งกษัตริย์และจักรพรรดิ ต่างเป็นพระประมุขของรัฐเหมือนกัน ยังไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวที่บ่งบอกถึงความแตกต่างในฐานันดรทั้งสองประเภทนี้โดยชัดเจน แต่ก็มีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวของได้แก่ การตีความของนักประวัติศาสตร์ ขนาดและลักษณะของอาณาจักรที่ทรงปกครอง และชื่อตำแหน่งที่ราชวงศ์นั้น ๆ เลือกที่จะเรียกตนเอง ลักษณะเฉพาะที่อาจนับเป็นปัจจัยให้ใช้ฐานันดรจักรพรรดิอาจสรุปได้หลายทางดังนี้

  • พระราชา หรือกษัตริย์ ที่ทรงฐานันดรที่สามารถแปลตามปกติเป็นภาษาอังกฤษเป็น Emperor ได้ และ/หรือได้รับการยอมรับเป็น “จักรพรรดิ” จากความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศ
  • เป็นราชาหรือกษัตริย์ (ทางพฤตินัย หรือ เป็นในนาม) ที่เป็นประมุขของรัฐราชาธิปไตยอื่นด้วยโดยที่ไม่ถอดถอนความเป็นราชาของรัฐอื่นที่ตนปกครอง
  • เป็นราชาที่ถือว่าสืบเชื้อสายจากเทพเจ้าหรือดำรงตำแหน่งสูงทางศาสนาโดยการแสดงตนโดย
  • เป็นประเพณียุโรป (คริสเตียน) ที่พระราชาสามารถสืบย้อนพระราชวงศ์ไปถึงสมัยจักรวรรดิโรมัน หรือที่ได้รับการยอมรับจากจักรพรรดิโรมัน (ไบแซนไทน์) ในการสืบทอดอำนาจ

การเลือกใช้ชื่อตำแหน่งโดยพระราชาได้กลายเป็นแนวคิดที่ต่างไปจากเดิมในภาษาอังกฤษ กล่าวคือความต่างที่ว่าพระราชาควรเป็นพระมหากษัตริย์หรือเป็นพระจักรพรรดิไม่ได้กำหนดไว้ตายตัวอีกต่อไป ต่างจากตำแหน่งพระราชาที่เป็น ฟาโรห์ เคาะลีฟะฮ์ สุลต่าน หรือข่าน ซึ่งยังมีการกำหนดแยกชัดเจนอยู่

ใกล้เคียง

จักรพรรดิ จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรพรรดิโชวะ จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิคังซี จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล จักรพรรดิยงเจิ้ง จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย