จักรพรรดินโปเลียนที่_3
จักรพรรดินโปเลียนที่_3

จักรพรรดินโปเลียนที่_3

หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต (ฝรั่งเศส: Louis-Napoléon Bonaparte ลูย-นาปอเลอง บอนาปาร์ต) ชื่อเกิดว่า ชาร์ล-หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต (ฝรั่งเศส: Charles-Louis Napoleon Bonaparte) เป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สอง เป็นบุคคลแรกที่ประชาชนเลือกตั้งโดยตรงให้ดำรงตำแหน่งนี้ อยู่ในตำแหน่งระหว่าง ค.ศ. 1848–52 แต่รัฐธรรมนูญมิให้ดำรงตำแหน่งซ้ำ จึงยึดอำนาจรัฐบาลตนเองแล้วขึ้นเป็นจักรพรรดินามว่า นโปเลียนที่ 3 (ฝรั่งเศส: Napoleon III) แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง อยู่ในตำแหน่งจักรพรรดิช่วง ค.ศ. 1852–70ทรงเป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และขึ้นเป็นจักรพรรดิเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1852 วันครบรอบ 48 ปีการราชาภิเษกของนโปเลียนที่ 1 ทั้งนี้ นโปเลียนที่ 3 อยู่ในตำแหน่งประมุขแห่งรัฐฝรั่งเศสยาวนานที่สุดนับแต่ปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นต้นมาในช่วงแรกแห่งการเถลิงราชย์ รัฐบาลนโปเลียนสั่งให้มีการตรวจพิจารณาและใช้มาตราการแข็งกร้าวต่อเหล่าผู้ต่อต้าน ในระยะเวลานับแต่เขาขึ้นครองราชย์จนถึง ค.ศ. 1859 มีผู้ถูกจับกุมคุมขังหรือเนรเทศไปยังทัณฑนิคมกว่า 600 คน ทั้งมีผู้ยอมเนรเทศตัวเองออกนอกประเทศฝรั่งเศสอีกหลายพันคน ในจำนวนนี้รวมถึงวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) นักประพันธ์ผู้เลื่องชื่อ[1] อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ ค.ศ. 1862 สืบมา นโปเลียนผ่อนคลายความเข้มงวดในการตรวจพิจารณาลง และเปิดเสรีมากขึ้นจนทำให้ดินแดนฝรั่งเศสได้ชื่อว่า "จักรวรรดิเสรี" (Liberal Empire) ผู้ต่อต้านเขาหลายคนจึงเดินทางกลับเข้าประเทศ และร่วมเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (National Assembly)[2]ทุกวันนี้ นโปเลียนที่ 3 เป็นที่รู้จักเพราะจัดการบูรณะกรุงปารีสขนานใหญ่ ซึ่งมีบารอนโอสมาน (Baron Haussmann) เป็นแม่กอง นโปเลียนที่ 3 ยังดำเนินโครงการโยธาหลวงในหลายเมือง เช่น มาร์แซย์, ลียง เป็นต้น[3]อนึ่ง นโปเลียนที่ 3 ยังปรับปรุงระบบธนาคารในประเทศให้ทันสมัย ขยายระบบรถไฟ ทำให้กองเรือพาณิชย์ของประเทศมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในโลก อุปถัมภ์การขุดคลองสุเอซ จัดตั้งระบบกสิกรรมสมัยใหม่ซึ่งทำให้ทุพภิกขภัยในประเทศสิ้นสุดลงและทำให้เกิดการส่งสินค้าเกษตรออกจำหน่ายภายนอกประเทศ ตลอดจนเจรจาสนธิสัญญา ค.ศ. 1860 เพื่อให้เกิดการค้าเสรีกับอังกฤษ ตามมาด้วยการทำความตกลงทำนองเดียวกันกับชาติยุโรปอื่น ๆ[4] นโปเลียนยังให้ปฏิรูปสังคม เช่น ให้กรรมกรชาวฝรั่งเศสมีสิทธิหยุดงานประท้วงหรือชุมนุม เปิดโอกาสให้สตรีเข้าถึงการศึกษาได้มากขึ้นอย่างยิ่ง รวมถึงเพิ่มวิชาที่โรงเรียนรัฐทุกแห่งต้องเปิดสอน[5]ด้านนโยบายต่างประเทศ นโปเลียนที่ 3 หมายใจจะให้ฝรั่งเศสมีอิทธิพลครอบงำยุโรปและสากลโลกอีกครั้ง เขาหนุนแนวคิดชาตินิยมและอำนาจอธิปไตยของปวงชน[6] เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับบริเตนในสงครามไครเมียช่วง ค.ศ. 1853–56 ซึ่งรัสเซียพ่ายแพ้ ขณะเดียวกัน เขาส่งกองทัพไปช่วยกลุ่มรัฐสันตะปาปามิให้ถูกอิตาลีผนวกดินแดน นโปเลียนที่ 3 ยังแผ่อำนาจนอกประเทศไปยังเอเชีย แปซิฟิก และแอฟริกา ทั้งส่งทหารเข้าแทรกแซงการเมืองเม็กซิโก หวังจะสถาปนาจักรวรรดิเม็กซิโกที่สองขึ้นเป็นดินแดนในอารักขาฝรั่งเศส แต่ไม่ประสบผลพอเข้า ค.ศ. 1866 นโปเลียนที่ 3 ต้องประเชิญมหาอำนาจที่กำลังขยายตัวอย่างปรัสเซีย เพราะอ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค นายกรัฐมนตรีปรัสเซีย หมายจะหลอมรวมแผ่นดินเยอรมันเข้าเป็นหนึ่งภายใต้ร่มบารมีปรัสเซีย ครั้นเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 1870 นโปเลียนจึงต้องเข้าสู่สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียโดยไม่มีใครร่วมหัวจมท้ายด้วย ทั้งมีกำลังรบด้อยกว่าปรัสเซีย ผลลัพธ์จึงเป็นความปราชัยของทหารฝรั่งเศส ตัวนโปเลียนถูกจับเป็นเชลยในยุทธการเซอด็อง (Sedan) นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง และจัดตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามขึ้นในกรุงปารีส ก่อนที่นโปเลียนที่ 3 จะลี้ภัยไปอังกฤษ และอยู่ที่นั่นจนสิ้นชีวิตใน ค.ศ. 1873

จักรพรรดินโปเลียนที่_3

พระราชบุตร เจ้าชายนโปเลียน พระราชกุมาร
ราชวงศ์ โบนาปาร์ต
ฝังพระศพ เซนต์ไมเคิลแอบบีย์ ฟาร์นบะระ แฮมป์เชอร์ อังกฤษ
นายกรัฐมนตรี ออดีลง บาโร
อาลฟงส์ อ็องรี โดปูล
เลอง โฟเช
ก่อนหน้า ตั้งสาธารณรัฐ
หลุยส์-เออแฌน กาแวญัก หัวหน้าฝ่ายบริหาร
ครองราชย์ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1852 –
4 กันยายน ค.ศ. 1870
ลายพระอภิไธย
ระหว่าง 20 ธันวาคม ค.ศ. 1848 –
2 ธันวาคม ค.ศ. 1852
พระราชมารดา ออร์ต็องส์ เดอ โบอาร์แน
พระราชบิดา หลุยส์ โบนาปาร์ต
หัวหน้ารัฐบาล เอมีล ออลีวีเย
ชาร์ล กูแซ็ง-มงโตบ็อง
พระนามเต็ม
พระนามเต็ม
ชาล-ลุย นาโปเลยง โบนาปัทร์
สวรรคต 9 มกราคม ค.ศ. 1873 (64 ปี)
ชิสเซิลเฮิสต์ เคนต์ อังกฤษ
ถัดไป ยุบสาธารณรัฐ
ประสูติ 20 เมษายน ค.ศ. 1808(1808-04-20)
ปารีส ฝรั่งเศส
ศาสนา โรมันคาทอลิก
คู่อภิเษก เออเฌนี เดอ มอนตีโฆ

ใกล้เคียง

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ จักรพรรดิโชวะ จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิ จักรพรรดิคังซี จักรพันธ์ แก้วพรม จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล จักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซีย จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย