สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ:สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
หลุยส์ จูลส์ ทรอชู
จูเซปเป การีบัลดี
เลยง แกมเบตต้าสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (อังกฤษ: Franco-Prussian War) หรือ สงครามฝรั่งเศส-เยอรมัน ในฝรั่งเศสเรียกกันว่า สงครามปี 1870[7] (1870 War) เป็นความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง(และต่อมากลายเป็นสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3) และรัฐเยอรมันแห่งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือภายใต้การนำโดยราชอาณาจักรปรัสเซีย กินเวลาตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 ถึง 28 มกราคม ค.ศ. 1871 ความขัดแย้งครั้งนี้มีสาเหตุมาจากความทะเยอทะยานของปรัสเซียที่จะขยายอำนาจในการรวมชาติเยอรมันและความเกรงกลัวของฝรั่งเศสในการเปลี่ยนแปลงสมดุลแห่งอำนาจในยุโรปที่จะส่งผลลัพธ์ หากปรัสเซียทำสำเร็จ นักประวัติศาสตร์บางคนได้โต้แย้งว่า นายกรัฐมนตรีปรัสเซีย อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค ได้มีความจงใจในการยั่วยุฝรั่งเศสให้ประกาศสงครามกับปรัสเซีย เพื่อที่จะชักนำให้รัฐทางใต้ของเยอรมันที่เป็นอิสระ ได้แก่ บาเดิน เวือร์ทเทิมแบร์ค บาวาเรีย และเฮ็สเซิน - ดาร์มชตัดท์ เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือซึ่งถูกปกครองโดยปรัสเซีย ในขณะที่คนอื่นยืนยันว่า บิสมาร์คไม่ได้วางแผนและใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ครั้งนี้ในขณะที่พวกเขาได้แฉออกไป อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครโต้แย้งความจริงที่ว่าบิสมาร์คต้องยอมรับศักยภาพของพันธมิตรเยอรมันใหม่ในการรับมือสถานการณ์โดยรวม[8]ฝรั่งเศสได้ระดมกองทัพ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 ทำให้สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือได้ทำการตอบโต้ด้วยการระดมพลเช่นกันในวันเดียวกัน เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 รัฐสภาฝรั่งเศสได้โหวตเพื่อประกาศสงครามกับปรัสเซียและคำประกาศสงครามได้ถูกไปยังปรัสเซียในสามวันต่อมา กองทัพฝรั่งเศสได้เข้ารุกดินแดนเยอรมัน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม เยอรมันได้ระดมพลของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าฝรั่งเศสและได้เข้ารุกทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม กองทัพเยอรมันมีจำนวนที่เหนือกว่า มีการฝึกอบรมและความเป็นผู้นำที่ดี และมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือทางรถไฟ และปืนใหญ่หนึ่งในชัยชนะอย่างรวดเร็วของปรัสเซียและเยอรมันในทางตะวันออกของฝรั่งเศส จุดสูงสุดในการล้อมที่แม็สและยุทธการที่เชอด็อง ทำให้จักรพรรดิฝรั่งเศส นโปเลียนที่ 3 ถูกจับกุมและกองทัพจักรวรรดิที่สองได้ปราชัยอย่างย่อยยับ รัฐบาลปกป้องชาติได้ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามขึ้นในปารีส เมื่อวันที่ 4 กันยายน และทำสงครามต่อไปในอีกห้าเดือน กองทัพเยอรมันได้ต่อสู้รบและพ่ายแพ้ให้กับกองทัพฝรั่งเศสใหม่ในภาคเหนือของฝรั่งเศส ปารีสซึ่งเป็นเมืองหลวงได้ถูกปิดล้อมและถูกยึดครอง เมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1871 ภายหลังการก่อการกำเริบของฝ่ายคณะปฏิวัติที่เรียกตนเองว่า คอมมูนปารีส ได้เข้ายึดอำนาจในเมืองและถือครองไว้เป็นเวลาสองเดือน จนกระทั่งกองทัพฝรั่งเศสได้เข้าปราบปรามอย่างเลือดเย็น เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1871 รัฐเยอรมันทั้งหมดได้ประกาศว่าจะรวมตัวกันเป็นจักรวรรดิเยอรมันภายใต้การนำโดยกษัตริย์แห่งปรัสเซีย วิลเฮล์มที่ 1 ในที่สุดเยอรมนีก็รวมชาติเป็นหนึ่งเดียวในฐานะที่เป็นชาติ-รัฐ(ออสเตรียได้ถูกแยกออกไป) สนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1871 ทำให้ส่วนใหญ่ของแคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนตกเป็นของเยอรมนี ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นดินแดนจักรวรรดิแห่งอาลซัสและลอแรน(Reichsland Elsaß-Lothringen). การที่เยอรมันพิชิตฝรั่งเศสและรวมชาติเยอรมนีทำให้เกิดการเสียสมดุลแห่งอำนาจในยุโรปที่มีมาตั้งแต่การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา ในปี ค.ศ. 1815 และบิสมาร์คยังรักษาอำนาจอย่างมากในกิจการระหว่างประเทศเป็นเวลาสองทศวรรษด้วยความมุ่งมั่นของฝรั่งเศสที่จะชิงอาลซัสและลอแรนกลับคืนมา และความหวาดกลัวของสงครามฝรั่งเศสและเยอรมันอีกครั้งพร้อมกับความหวั่นเกรงของบริติชเกี่ยวกับสมดุลแห่งอำนาจ กลายเป็นปัจจัยในสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

วันที่สถานที่ผลลัพธ์ดินแดนเปลื่ยน
วันที่19 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 ถึง
10 พฤษภาคม ค.ศ. 1871
สถานที่ฝรั่งเศสและปรัสเซีย
ผลลัพธ์ฝ่ายเยอรมันชนะ เกิดสนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ต
ดินแดน
เปลื่ยน
สถาปนาจักรวรรดิเยอรมัน
เยอรมันผนวกอาลซัส-ลอแรน
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 สิ้นสภาพ
สถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
สถานที่ ฝรั่งเศสและปรัสเซีย
ผลลัพธ์ ฝ่ายเยอรมันชนะ เกิดสนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ต
ดินแดนเปลื่ยน สถาปนาจักรวรรดิเยอรมัน
เยอรมันผนวกอาลซัส-ลอแรน
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 สิ้นสภาพ
สถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
วันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 ถึง
10 พฤษภาคม ค.ศ. 1871

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด